ระบบกันสะเทือนในรถยนต์





การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเครื่องยนต์ ส่งผลให้รถยนต์รุ่นใหม่ที่เปิดตัวออกมาในปัจจุบันมีสมรรถนะเหนือระดับขึ้นไปอีกขั้น เราสามารถเดินทางไปไหนต่อไหนด้วยระยะเวลาที่สั้นลง เพราะรถยนต์สามารถใช้ความเร็วได้สูงขึ้น แต่ความปลอดภัยยังคงเป็นส่วนที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญอยู่เช่นเดิม หนึ่งในหลายหัวข้อของความปลอดภัยอยู่ที่ "ระบบกันสะเทือน" ส่วนประกอบสำคัญในรถยนต์ที่ถูกหลายคนมองข้ามไป...



เราจึงขอพาคุณผู้อ่านไปดู ความสำคัญ หลักการทำงาน และประเภทหลักๆ ที่มีใช้งานกันอยู่ของระบบกันสะเทือน หรือระบบรองรับน้ำหนัก หรือ ระบบแขวนล้อ ซึ่งพวกเรานิยมเรียกว่า "ช่วงล่าง" แปลมาจากคำว่า Suspensions ในภาษาอังกฤษ หน้าที่โดยตรง คือ "ลดอาการสั่นสะเทือนอันเกิดจากการกลิ้งของล้อสัมผัสกับพื้นผิวถนน" ให้หลงเหลือส่งถ่ายไปยังห้องโดยสารน้อยที่สุด แต่ระบบกันสะเทือนก็ยังมีหน้าที่แฝงอีกหลายข้อ ได้แก่ ช่วยให้การบังคับควบคุมรถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ, รักษาระดับตัวรถ ให้พื้นรถห่างจากผิวถนนคงที่, ควบคุมล้อให้ตั้งฉากกับพื้นถนนตลอดเวลาเพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นถนนมากที่สุด แม้ในขณะเข้าโค้ง, ลดอาการกระดก และโยนตัว สมดุลให้รถอยู่ในสภาพปกติ ขณะเคลื่อนที่ผ่านผิวถนนที่ไม่ราบเรียบ
การรองรับน้ำหนัก ในศัพท์ทางรถยนต์ หมายถึง การใช้สปริงคั่นกลางระหว่างโครงรถ (Frame), ตัวถัง (Body), เครื่องยนต์, ชุดส่งกำลัง กับล้อ ซึ่งเป็นส่วนที่รับภาระจากการสัมผัสโดยตรงกับพื้นถนน น้ำหนักของอุปกรณ์ดังกล่าว ตลอดจนน้ำหนักบรรทุกที่อยู่ด้านบนของสปริง เราเรียกว่า น้ำหนักเหนือสปริง (Sprung weight) ส่วนน้ำหนักใต้สปริง ซึ่งได้แก่ ล้อ, ยาง, ชุดเพลาท้าย (ในรถที่ใช้แบบคานแข็ง) และเบรก จะเป็นน้ำหนักที่สปริงไม่ได้รองรับ ถูกเรียกว่า น้ำหนักใต้สปริง (Unsprung weight)

หน้าที่และชนิดของสปริง
สปริงจะยุบและยืดตัวเมื่อล้อวิ่งผ่านผิวถนนที่ขรุขระ ส่งผลให้ล้อเคลื่อนที่ขึ้น-ลงได้เกือบอิสระในแนวดิ่งจากโครงรถ ทำให้สามารถ "ดูดกลืน" (Absorb) แรงเต้นของล้อลงได้ แรงจากการเคลื่อนที่ของล้อจึงถูกส่งถ่ายไปยังตัวถังน้อยกว่าที่ล้อเต้นจริง ผลก็คือผู้โดยสารและน้ำหนักบรรทุกจะได้รับแรงสะเทือนจากล้อลดลงนั่นเอง
เรามักเข้าใจว่า "สปริง" คือ ขดลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดต่างๆ ขดเป็นวง รูปทรงกระบอก (สปริงขด หรือ Coil Spring) แบบอย่างที่เราคุ้นเคยกันมาตลอด แต่ในความเป็นจริง สปริงยังมีอยู่อีกหลายประเภท หลายรูปแบบ และที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ แหนบ (Leaf Spring), เหล็กบิด หรือทอร์ชั่นบาร์(Torsion bar), สปริงลม (Air Spring), สปริงยาง (Rubber Spring) และ ไฮโดรนิวเมติก (Hydro - Pneumatic) ในอนาคตเมื่อความก้าวหน้าทางวิศวกรรมสูงขึ้นอีก ก็อาจมีสปริงรูปแบบใหม่ๆ ออกมาใช้งานอีกก็เป็นได้
แหนบจะรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนโดยการ "โค้งหรืองอตัว" ของแผ่นแหนบ สปริงขดรับน้ำหนักโดยการ "หด หรือยุบตัว" ของขดสปริง ส่วนเหล็กบิด หรือทอร์ชั่นบาร์ นั้น จะรับแรงสั่นสะเทือนโดยการ "บิดตัวของเพลา", สปริงลมลดแรงสั่นสะเทือนจากการ "อัดตัวของลม" ในถุงลม, ส่วนสปริงแบบไฮโดรนิวเมติก ดูดซับแรงสั่นสะเทือน โดยการอัดตัวของแก๊สไนโตรเจนและของเหลว (ที่ใช้อยู่เป็นน้ำมันไฮดรอลิก) ในระบบ



รูปแบบของระบบกันสะเทือน
ที่สร้างสรรค์นำมาใช้งานกับรถยนต์มีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทก็มีจุดแข็ง จุดอ่อน หรือข้อเด่น ข้อด้อย แตกต่างกันออกไป บางประเภทแข็งแรงทนทาน ไม่ต้องการดูแลรักษามากมาย แต่การยึดเกาะถนนไม่ดี บางประเภทให้ประสิทธิภาพสูงเมื่อใช้บนทางเรียบ แต่สุดแสนกระด้างเมื่อผ่านผิวถนนขรุขระ บางประเภทใช้พื้นที่ในการติดตั้งและทำงานน้อย เหมาะสำหรับรถขับเคลื่อนล้อหน้า และบรรดารถจ่ายกับข้าวทั้งหลาย รถยนต์แต่ละคันจึงต้องหาจุดสมดุล ด้วยวัตถุประสงค์ในการออกแบบรถ ว่าต้องการให้ช่วงล่างของรถคันนั้นๆ มีคุณลักษณะ(Character) ออกไปในรูปแบบใด เช่น ให้ฟิลลิ่งแบบรถสปอร์ต มั่นคงแม้ใช้ความเร็วสูง, ใช้แบบสมบุกสมบันในทาง Off-road หรือเน้นความนุ่มนวลเพราะใช้ใน Luxury Car เป็นต้น

แต่ด้วยเทคโนโลยีและความพยายามของวิศวกรของแต่ละบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ จึงสามารถทำให้ข้อดีของระบบกันสะเทือนหลายๆ แบบมารวมอยู่ในรถยนต์คันเดียวได้ เพราะระบบกันสะเทือนรุ่นใหม่ๆ สามารถปรับความแข็ง-อ่อน หรือแม้กระทั่งระดับความสูงของตัวรถได้ (Active suspension) ซึ่งช่วงล่างลักษณะดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่ม Premium Car โดยเฉพาะกับรถยนต์ประเภท SUV ระดับบน

ระบบกันสะเทือนที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป แบ่งออกได้เป็นแบบใหญ่ๆ ดังนี้
MacPherson Strut


Rover 2000 MacPherson derivative





"ปีกนก" ในล้อคู่หน้า ได้รับความนิยมอย่างสูงในรถทุกประเภท

" แบบคานแข็ง (Solid axle suspension) คานแข็ง
ล้อด้านซ้ายและล้อด้านขวาอยู่บนเพลาเดียวกัน เป็นแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมาและในปัจจุบันก็ยังมีใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถบรรทุก รถยนต์นั่งมีเฉพาะล้อหลัง แต่ก็มีให้เห็นน้อยลงเรื่อยๆ ข้อดี คือ แข็งแรง ทนทาน ค่าสร้างถูก แต่มีข้อเสีย คือ มีน้ำหนักใต้สปริงมาก เมื่อล้อใดล้อหนึ่งเอียงไป ล้อที่อยู่บนคานเดียวกันจะเอียงตามไปด้วย การควบคุมรถที่ความเร็วสูง และสภาพถนนขรุขระจึงไม่ดีเท่าที่ควร
" แบบอิสระ (Independent suspension) ล้อทั้ง 4 ของระบบกันสะเทือนรูปแบบนี้จะเต้นเป็นอิสระต่อกัน ไม่ส่งผลไปยังล้อที่อยู่ตรงกันข้าม หรือถ้ามีบ้างก็น้อยมาก น้ำหนักใต้สปริงของระบบรองรับแบบนี้มีน้อย แรงเฉื่อยจากการเต้นของล้อจึงมีน้อยกว่า อาการเต้นของล้อจึงกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว

น้ำหนักใต้สปริงของระบบกันสะเทือนแบบอิสระน้อยมากยิ่งขึ้นไปอีกในปัจจุบัน เพราะผู้ผลิตหลายรายหันมาใช้อะลูมิเนียมที่มีน้ำหนักเบา เป็นส่วนประกอบหลักของระบบกันสะเทือนแทนเหล็ก ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าแทบทั้งชุด การควบคุมรถจึงทำได้อย่างมีเสถียรภาพมากกว่า และยังนุ่มนวลกว่า ซึ่งระบบรองรับแบบอิสระจะแบ่งออกไปอีกหลายประเภท อาทิ ปีกนก, เซมิเทรลิ่งอาร์ม, แม็คเฟอร์สันสตรัท, มัลติลิงค์ และอีกหลายระบบที่พัฒนาบนพื้นฐานของระบบที่ยกตัวอย่างมา รวมถึงยังมีการนำแต่ละระบบมาผสมผสานกันด้วย


"คานเข็ง" ยังมีใช้งานอยู่ในหมู่รถที่เน้นความทนทาน แต่เพื่อความนุ่มนวลจึงจำเป็นต้องหันมาคบกับ "คอล์ยสปริง" ละทิ้งเพื่อนเก่าอย่าง "แหนบ" ไป

ปีกนก (Wishbone suspension)
การออกแบบแตกต่างกันไป เช่น ปีกนกบนและปีกนกล่างยาวไม่เท่ากันแต่ขนานกัน, ปีกนกบนและปีกนกล่างยาวไม่เท่ากันและไม่ขนานกัน ระบบรองรับน้ำหนักประเภทนี้ได้รับความนิยมค่อนข้างแพร่หลาย ปัจจุบันสามารถออกแบบให้แข็งแรงมากพอ และใช้อะลูมิเนียมที่มีน้ำหนักเบา แทนโครงสร้างเดิมที่เป็นเหล็ก จึงไม่แปลก นอกจากในรถยนต์นั่งแล้ว รถ Off-road หลายรุ่นก็ใช้ระบบกันสะเทือนรูปแบบนี้ด้วย

Double wishbone suspension systems





"แม็กเฟอร์สันสตรัท" ทำงานร่วมกับปีกนกล่าง
เซมิเทรลิ่งอาร์ม (Semi trailing arm)




แขนเต้น (Trailing arm) อาจมีอยู่ 2 แขน หรือแขนเดียวก็ได้ ถ้าเป็นแขนเดียวจะเรียกว่า เซมิเทรลิ่งอาร์ม (Semi trailing arm) ถูกออกแบบให้ใช้ในล้อหลัง แขนเต้นมีใช้ทั้งแบบจุดหมุนอยู่ตามแนวยาวและจุดหมุนอยู่ตามแนวขวางกับตัวรถ ปัจจุบันมีให้เห็นมากในรถ MPV ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า จุดเด่น คือ มีชิ้นส่วนในการเคลื่อนที่น้อย ห้องโดยสารจึงออกแบบได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

แม็คเฟอร์สันสตรัท (MacPherson strut)
การออกแบบคล้ายกับระบบปีกนกธรรมดา แต่ไม่มีปีกนกบน โช้คอัพและคอยล์สปริงจะรวมอยู่บนแกนเดียวกัน ทำให้ประหยัดเนื้อที่และลดชิ้นส่วนต่างๆ ลงได้มาก ตัวถังบริเวณที่รองรับชุดแม็คเฟอร์สันสตรัท ต้องแข็งแรงเป็นพิเศษ ข้อเสียของระบบกันสะเทือนชนิดนี้ คือ ไม่สามารถทำให้รถต่ำลงเท่าระบบกันสะเทือนแบบปีกนก จึงไม่นิยมใช้กับรถแข่งทางเรียบ (Racing Car) แต่บนทางฝุ่นในสนามแรลลี่โลก ใช้ แม็คเฟอร์สันสตรัทเกือบทุกค่ายเลยล่ะ

มัลติลิงค์ (Multi-link suspension)




คำว่ามัลติลิงค์จะค่อนข้างครอบคลุม สำหรับระบบกันสะเทือนที่ใช้แขนยึด (Link) แบบหลายจุด เช่น โฟร์บาร์ลิงค์เกจ, ไฟว์ลิงค์ หรือแขนยึดแบบ 5 จุด ที่ออกแบบให้ใช้แขนยึดหลายจุดเพื่อต้องการควบคุมมุมล้อ และรักษาหน้ายางให้ตั้งฉากกับพื้นถนน ปัจจุบันนิยมใช้กับล้อคู่หลังในกลุ่มรถ Luxury เพราะโดดเด่นเรื่องความนุ่มนวล ทั้งยังให้สมรรถนะในการยึดเกาะถนนที่ดี


"ทอร์ชั่นบาร์" หรือ แท่งเหล็กบิด(สีเทาวางตามแนวยาว) รับหน้าที่แทนสปริงขด

ทอร์ชั่นบาร์ (Torsion bar)


มีรถยนต์หลายรุ่นได้นำเอาทอร์ชั่นบาร์มาใช้แทนแหนบและสปริงขด ทั้งล้อหน้าและล้อหลัง โดยเฉพาะในล้อหน้าจะเห็นได้ในรถกระบะ ระบบกันสะเทือนรูปแบบนี้จะมีทอร์ชั่นบาร์สองท่อน (ของล้อหน้าซ้าย และล้อหน้าขวา) ติดตั้งตามยาวของโครงรถข้างละท่อน ที่ปลายด้านหน้ายึดติดกับปีกนกล่าง ปลายด้านหลังยึดติดกับซับเฟรม ซึ่งสามารถปรับแต่งความตึงของทอร์ชั่นบาร์ได้ น้ำหนักของรถจะทำให้ทอร์ชั่นบาร์บิดตัวไปเหมือนกับสปริงขด จะยุบตัวหรือบิดตัวมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ การบิดตัวดังกล่าวจะทำให้เกิดผลของความเป็นสปริง เช่นเดียวกับสปริงรูปแบบอื่นๆ
จะเห็นได้ว่า ระบบกันสะเทือนต่างๆ จะออกแบบโดยใช้พื้นฐานทางเรขาคณิตเป็นหลัก เพื่อควบคุมล้อและหน้ายางให้สัมผัสพื้นถนนมากที่สุด ในทุกสภาพการขับขี่ ไม่ว่าล้อจะยุบ หรือยืดตัว โดยยังต้องให้ความสำคัญกับความนุ่มนวลไว้ดังเดิม ความก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นของระบบกันสะเทือน คือ การนำโช้คอัพไฟฟ้าที่สามารถปรับความหนืดได้ตามความเร็ว หรือแม้กระทั่งการใช้ถุงลมมาทำหน้าที่แทนคอยล์สปริง เพราะสามารถปรับความอ่อน-แข็ง และความสูงได้โดยการเพิ่มและลดปริมาณลมแยกเป็นอิสระกันทั้งสี่ล้อ ขึ้นอยู่กับสภาพของรถ ณ ขณะนั้น โดยการประมวลผลและสั่งการมาจากคอมพิวเตอร์ ต้องขอเวลารวบรวมข้อมูล แล้วจะมานำเสนอคุณผู้อ่านในโอกาสต่อไป


credit :: http://www.grandprixgroup.com
[endtext]

Read More

ระบบระบายความร้อนรถยนต์





ระบบระบายความร้อน ปัญหาที่พบบ่อยและการบำรุงรักษา

เนืองจากความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ภายในกระสูบที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่มี การเคลื่อนที่ขึ้นลงนั้น มีอุณหภูมิสูงกว่า 4,500’F ในขณะที่จุดหลอมละลายของลูกสูบอลุมิเนียมนั้นอยู่ที่ประมาณ 1,225’F `เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของระบบระบายความร้อนที่มีความจำเป็นจะต้องรีบระบาย ความร้อนออกมาให้เร็วที่สุดก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์

ระบบระบายความร้อนจะมีอุปกรณ์ที่สำคัญ ควรแก่การทำความรู้จักและให้ความสำคัญกับการดุแลรักษาดังนี้
1 ป็มน้ำ
2 หม้อน้ำ
3 พัดลม
4 เทอร์โมสตัดส์
5 น้ำและน้ำยารักษาหม้อน้ำ

วงจรของการระบายความร้อนเริ่มต้นจากใต้หม้อน้ำ ซึ่งได้รับการระบายความร้อนจากหม้อน้ำมาแล้วจะไหลเข้าเครื่องยนต์โดยป็มน้ำ และเข้าไปทำหน้าที่นำเอาความร้อน ระบายความร้อนออกมาจากภายในเครื่องยนต์ โดยก่อนไปจะถูกควบคุมอุณหภูมิการระบายความร้อนด้วยเทอร์โมสตัดส์ ก่อนจะส่งออกไประบายความร้อนที่หม้อน้ำต่อไป

ประเทศไทยของเราอยู่ในเขตร้อน อากาศภายนอกโดยทั่วไปอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 35-40’C ปัญหาเรื่องความร้อนในเครื่องยนต์เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ในเรื่องของความสูญเสีย ความเสียหายทางเครื่องยนต์ซึ่งอยู่ในระดับต้นๆที่เดียว แต่สังเกตุว่าเราๆท่านๆก็ยังขาดการดูแลเอาใจใส่ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ที่ดีเพียงพอครับ ในวันนี้เราคงต้องมาเข็มงวดเอาจริงกับเรื่องนี้เพื่อป้องกันปัญหากันดังนี้ครับ

แนวทางการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์
1 สังเกตุเกย์วัดความร้อนให้เป็นนิสัย
2 ใส่ใจกับปริมาณหรือระดับน้ำในถังพักน้ำ หมั่นสังเกตุว่าน้ำหยดที่ไหนอย่างไรหรือไม่
3 เปลี่ยนถ่ายน้ำยา Coolant หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำหม้อน้ำอย่างน้อยปีละครั้ง
4 สังเกตุการทำงานของพัดลมไฟฟ้าหน้าเครื่องยนต์


เรามาลงรายละเอียดกันสักนิดว่าทำไมต้องทำตามที่ผมได้แนะนำไว้ครับ

1 สังเกตุเกย์วัดความร้อนให้เป็นนิสัย

การฝึกเป็นคนช่างสังเกตุสักนิด จะช่วยทำให้ท่านประหยัดเงินค่าซ่อมแซมรถไปได้มากที่เดียว สิ่งผิดปกติสำหรับเรื่องความร้อนจะแสดงให้เห็นเบื้องต้นทางเกย์วัดหรือมาตรา วัดความร้อนนั่นเอง หากท่านพบว่าเข็มของมาตราวัดที่เคยอยู่ตำแหน่งเดิมเริ่มเคลื่อนที่ผิดปกติไป และไปหยุดนิ่งอยู่ ไม่เคลื่อนที่ต่อ แสดงว่าน่าจะอะไรสังอย่างที่ผิดปกติเช่น มีน้ำซึม รั่วเล็กๆแล้ว พัดลมไฟฟ้าไม่ทำงาน หรือทำบ้างไม่ทำบ้างแล้วเป็นต้น ควรหาโอกาสพบช่างตรวจสอบโดยเร็วแล้วครับ และจะยิ่งอันตรายมากขึ้นหากขึ้นไปไม่หยุดและมีแนวโน้มจะขึ้นไปเรื่อยๆ ท่านต้องหาทางจอดรถและดับเครื่องยนต์ให้เร็วที่สุด และรอจนกว่าจะเย็นแล้วจึงตรวจสอบว่าสาเหตุมาจากไหน ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำขณะเครื่องยนต์ยังร้อนอยู่และเติมน้ำเด็ดขาด หากน้ำต่ำกว่าทีกำหนดไว้ให้รอจนเครื่องยนต์เย็นจริงๆแล้วจึงเติมน้ำได้ อาการแบบนี้แสดงว่าท่านต้องพบปัญหามากแล้วเช่น ป็มน้ำรั่ว ท่อยางหม้อน้ำแตกเป็นต้น จะเห็นว่าหากเราช่างสังเกตุเราจะพบปัญหาก่อนเสมอ และปัญหาจะไม่ลุกลามใหญ่โตแน่นอนครับ

2 ใส่ใจกับปริมาณหรือระดับน้ำในถังพักน้ำ หมั่นสังเกตุว่าน้ำหยดที่ไหนอย่างไรหรือไม่

จุดนี้น่าสังเกตุและเป็นการบอกเหตุล่วงหน้าได้ว่ารถของเราจะมีปัญหาเรื่องน้ำหยดที่พื้นลานจอดรถ( ต้องระวังตรงนี้นิดนะครับ ท่านต้องแยกให้ได้ว่าน้ำที่หยดมันมาจากแอร์หรือน้ำจากระบบระบายความร้อนแน่) น้ำหายไปไหน ต้องเติมน้ำบ่อยๆ อาทิตย์ละครั้ง อะไรทำนองนี้ เป็นสิ่งผิดปกติเบื้องต้นอีกประการที่เราต้องหาสาเหตุและรีบแก้ไขโดยเร็วอย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เพราะไม่แน่ว่าเวลาไหนที่ท่านเกิดไปรถติดๆแล้วความร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเครื่องยนต์ดับเอง แบบนี้ท่านสียหายแน่นอนครับ จงจำไว้อย่างว่าน้ำต้องไม่หายไปจากระบบมากมายแน่นอนเพราะเป็นระบบระบายความร้อนเป็นระบบปิดครับ หากจะมีบ้างเนื่องจากซึมบ้างเล็กน้อย ก็เติมปีละครั้ง สองครั้งเท่านั้นครับ


3 เปลี่ยนถ่ายน้ำยา Coolant หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำหม้อน้ำอย่างน้อยปีละครั้ง

น้ำยาตัวนี้ช่วยให้ท่านสามารถเพิ่มจุดเดือดของน้ำระบายความร้อนได้ ทำให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนดีขึ้นมาก เครื่องยนต์จะไม่ร้อนเกินไป เติมดีกว่าไม่เติม และที่สำคัญอีกประการคือช่วยรักษาสภาพภายในหม้อน้ำ เครื่องยนต์ เป็นการป้องการเกิดสนิมภายในอีกด้วย น้ำยาตัวนี้ควรเปลี่ยนถ่ายทิ้งใส่ของใหม่ทุกๆปี ดีกว่า ที่สำคัญควรเลือกยี่ห้อที่ไว้ใจได้และเป็นของใหม่อย่าเอาของหมดอายุ หรือเห็นว่าราคาถูกแล้วเอามาใช้ท่านอาจต้องพบกับการอุดตันและไม่สามารถแก้ไขได้จะเสียหายมากครับ


4 สังเกตุการทำงานของพัดลมไฟฟ้าหน้าเครื่องยนต์

จุดนี้เป็นหนึ่งจุดที่สำคัญ เพราะความร้อนที่เกิดขึนบ่อยครั้งที่มีสาเหตุมาจากปลั๊กของพัดลมไฟฟ้าหลวม สกปรก หน้าสัมผัสไม่ดี เป็นต้น ทำให้ไฟฟ้าเดินไม่สะดวก ทำงานบ้าง ไม่ทำบ้าง ตัวนี้ยิ่งต้องระวังครับ สังเกตุว่าหากพัดลมไฟฟ้าไม่ทำงานแน่นอนความร้อนจะขึ้นสูงผิดปกติและจะ ค้างอยู่หรือมีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีกจนถึงขีดแดงได้ ฉนั้นเบื้องต้นหากรถของท่านมีปัญหาความร้อนสูงอย่าลืมใส่ใจพัดลมไฟฟ้าด้วย ครับ

แนวทางป้องกันปัญหาอย่างง่ายและได้ผลสำหรับปัญหาเรื่องความร้อนคงจะช่วยท่านได้ตามสมควรนะครับ





ฝาหม้อน้ำก็มีความสำคัญ Radiator Cap

คงมีหลายท่านที่ยังไม่เข้าใจหลักการทำงานอันสำคัญของอุปกรณ์ตัวเล็กๆใน
ระบบระบายความร้อนที่ชื่อ ฝาหม้อน้ำ ( Radiator Cap) เป็นแน่ก่อนอื่นผมขอแนะนำให้ท่านได้ทราบหน้าที่ก่อนนะครับ

หน้าที่

ช่วยรักษาความดันภายในหม้อน้ำให้คงที่และช่วยป้องกันการกระแทก ( Surging out )ของ Coolant ภายในหม้อน้ำ

ทำไม?ระบบระบายความร้อนต้องมีแรงดัน

1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของปั๊มน้ำ
2 เพื่อเพิ่มจุดเดือดของน้ำหล่อเย็น

โดยปกติน้ำจะมีจุดเดือดที่ 212 ‘F แต่หากเพิ่มความดันเป็น 15 Lb/in2 จะทำให้น้ำสามารถเพิ่มจุดเดือดไปได้อีกเป็น 257’F ได้ และการใส่ Coolant หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า น้ำยารักษาหม้อน้ำบ้าง น้ำยาเพิ่มจุดเดือดของน้ำบ้าง ก็เป็นการช่วยเพิ่มจุดเดือดของน้ำหล่อเย็นได้อีกประการหนึ่งด้วยการนำ Ethylene glycol มาผสมกับน้ำนั้นเอง


ท่านทราบหรือไม่ว่า ? ฝาหม้อน้ำมี Valve 2 ชนิดอยู่ในตัวเอง

ฝาหม้อน้ำประกอบด้วย Valve 2 ชนิดคือ Pressure Valve และ Vacuum Valve

Pressure Valve
คือ Spring ตัวใหญ่ภายนอกนั่นเอง ทำหน้าที่รักษาแรงดันภายในหม้อน้ำ
Vacuum Valve
คือ Valve ตัวเล็กกับ Spring ภายใน ทำหน้าป้องกันหม้อน้ำในขณะอุณหภูมิของ Coolant ลดลง

หากฝาปิดหม้อน้ำไม่ดีจะมีผลเสียอย่างไร?

1 มีโอกาสจะทำให้เกิดปัญหาความร้อนได้ เนื่องจากไม่สามารถสร้างแรงดันให้กับระบบได้ ( Pressure Valve เสียหาย ) น้ำหล่อเย็นในระบบจะร้อนเร็วกว่าปกติ
2 ระบบ Coolant Recovery ไม่สามารถทำงานได้เนื่องจาก Vacuum Valve ไม่เปิดให้ Coolant ในถังพักเข้ามาในระบบได้
3 อาจสร้างความเสียหายในกับอุปกรณ์อื่นได้ หากแรงดันเกินแล้วมีการ Relieve Pressure ออกได้ทัน (ในกรณีที่เลือก pressure Rating ผิด)


การตรวจสอบฝาหม้อน้ำ


1 ฝาหม้อน้ำต้องไม่เป็นสนิม สปริงภายในสามารถยุบตัวได้และไม่ติดขัด
2 Seal ต้องปิดสนิทและสะอาด ไม่มีรอยฉีกขาดหรือบิดเสียรูป
3 คอหม้อน้ำกับฝาหม้อน้ำต้องปิดได้สนิทและมีบ่ารับได้รูปไม่เสียหาย
4 Valve จะต้องสะอาดและไม่เป็นสนิม อุดตัน
5 ควรเลือกใช้ ฝาหม้อน้ำตาม Rating Pressure ตามที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ ด้วยเหตุผลความปลอดภัยของการ Relieve Pressure หากเกิดแรงดันสูงผิดปกติขึ้นในระบบ


เห็นแล้วนะครับว่า แค่เรื่องง่ายๆของฝาปิดหม้อน้ำธรรมดาๆก็เป็นสาเหตุของความร้อนและ Overheat ได้เหมือนกัน




credit :: http://www.gmcworkshop.com/new_ez/ez8.asp

Read More

ระบบปรับอากาศ





เครื่องปรับอากาศ คือ เครื่องมือสำหรับ :
- ควบคุมอุณหภูมิ
- ควบคุมการหมุนเวียนของอากาศ
- ควบคุมความชื้น
- ทำให้อากาศสะอาด

เครื่องปรับอากาศ คือ อุปกรณ์สำหรับรักษาอุณหภูมิและความชื้นของอากาศภายในห้องให้อยู่ในสภาพที่ เหมาะสม เมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้น ความร้อนจะถูกดึงออกมาเพื่อให้อุณหภูมิ ลดลง (เรียกว่าการทำความเย็น) และในทางกลับกัน เมื่ออุณหภูมิภายในห้องลดลง ความร้อนก็จะถูกจ่ายออกมาเพื่อ ให้อุณหภูมิสูงขึ้น (เรียกว่า การทำความร้อน) ดังนั้น ความชื้นที่อยู่ในอากาศจะถูกเพิ่มหรือลดลงเพื่อควบคุมระดับความชื้นของ อากาศให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
ดังนั้น เครื่องปรับอากาศจึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นประกอบไปด้วยเครื่องทำความเย็น เครื่องทำ ความร้อนตัวควบคุมความชื้นและเครื่องถ่ายเทอากาศ
เครื่องปรับ อากาศสำหรับรถยนต์โดยทั่วๆ ไป ประกอบด้วย เครื่องทำความร้อน หรือเครื่องทำความเย็นซึ่งมีตัวดูดความชื้นและเครื่องถ่ายเทอากาศ

ระบบ ปรับอากาศในรถยนต์จะใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
1. คอมเพรสเซอร์ ( COMPRESSOR)
2. คอยล์ร้อน ( CONDENSER)
3. ถังพักน้ำยา-กรองและดูดความชื้น ( FILTER-DRYER RECEIVER)
4. วาล์วลดความดัน ( EXPANSION VALVE)
5. คอยล์เย็น ( EVAPORATOR)
6. น้ำยาแอร์ ( REFRIGERANT)

คอมเพรสเซอร์ ( COMPRESSOR)
คอมเพรสเซอร์ คือ อุปกรณ์ส่วนที่ทำหน้าที่เพิ่มความดันของน้ำยาแอร์ในระบบให้สูงขึ้นเพื่อ ส่งต่อไปให้กับคอยล์ร้อน คอมเพรสเซอร์ที่ใช้กับรถยนต์อาจพบได้ 2 แบบ คือ แบบรีซีปโปรเคติ้ง ( RECIPROCATING TYPE) และแบบโรตารี่ (ROTARY TYPE) ซึ่งแบบรีซีปโปรเคติ้งสามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. แบบเพลาข้อเหวี่ยง ( CRANK SHAFT TYPE)
2. แบบสว๊อชเพลต ( SWASH PLATE TYPE)
ส่วนแบบโรตา รี่จะเป็นแบบใบพัด (THROUGH VANE TYPE)



CRANK SHAFT TYPE (แบบเพลาข้อเหวี่ยง)
SWASH PLATE TYPE (แบบสว๊อชเพลต)
THROUGH VANE TYPE (แบบใบพัด)
คอมเพรสเซอร์แบบสว๊อชเพลตจะติดตั้งอยู่บริเวณเครื่อง ยนต์ ทำงานโดยได้รับแรงหมุนจากเครื่องยนต์ส่งผ่านมาทางสายพานซึ่งคล้องไว้กับพู ลเลย์ของอมเพรสเซอร์ โดยที่พูลเลย์ของ คอมเพรสเซอร์จะมีคลัทช์แม่เหล็กติดตั้งอยู่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพูลเลย์ พูลเลย์ของคอมเพรสเซอร์ จะอยู่บนแกนกลางของเพลาหมุนของคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่เครื่องยนต์หมุนแรงหมุนของเครื่องยนต์ จะถูกส่งผ่านสายพานมาหมุนพูลเลย์ของคอมเพรสเซอร์ โดยที่คอมเพรสเซอร์จะยังไม่ทำงาน

ขณะที่เราเปิดสวิตช์แอร์ในห้อง โดยสารไปที่ตำแหน่ง ?ON? กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จะไป ทำให้คลัทช์แม่เหล็ก ทำงาน โดยดูดยึดติดกับพูลเลย์จึงส่งผลให้แกนเพลาหมุนของคอมเพรสเซอร์ ยึดติดกับพูลเลย์ จากจุดนี้ทำให้คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงาน เมื่ออุณหภูมิในห้องโดยสารเริ่มเย็นลงตาม อุณหภูมิที่ตั้งไว้แล้วเซ็นเซอร์ควบคุมอุณหภูมิ ( THERMOSTAT) จะทำงาน โดยตัดกระแสไฟฟ้าที่ จะส่งไปยังคลัทช์แม่เหล็ก ทำให้คลัทช์แม่เหล็กกับพูลเลย์แยกออกจากกัน คอมเพรสเซอร์จึงหยุด การทำงาน และอีกกรณีที่คลัทช์แม่เหล็กจะหยุดการทำงานคือ การที่เราปิดสวิทช์ตัวตั้งอุณหภูมิ ภายในห้องโดยสารนั่นเอง

คอยล์ร้อน ( CONDENSER)
คอยล์ร้อนจะมีลักษณะ เป็นแผงรับอากาศขนาดพอๆ กับหม้อน้ำรถยนต์ มีทางเข้าและทางออก ของน้ำยาแอร์ ซึ่งถูก ออกแบบมาให้มีท่อน้ำยาแอร์ขดไปขดมาบนแผง โดยผ่านครีบระบายความร้อน ซึ่งมีลักษณะคล้ายครีบระบายความร้อนของหม้อ น้ำ คอยล์ร้อนจะถูกติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ารถยนต์ คู่กับหม้อน้ำและอาจจะมีพัดลมไฟฟ้าช่วยระบายความร้อน ท่อทางเข้าของคอยล์ร้อนจะต่อท่อร่วมกับรูทางออกของคอมเพรสเซอร์ ส่วนท่อทางออกของ คอยล์ร้อนจะต่อเข้ากับถังพักน้ำยา-กรองและตัวดูดความชื้น

ถังพักน้ำยา-กรองและตัวดูดความชื้น ( FILTER-DRYER RECEIVER)
ถังพักน้ำยา-กรองและตัวดูดความชื้น มีลักษณะเป็นทรงกระบอกไม่ใหญ่มาก ถูกติดตั้งอยู่ ใกล้กับแผงคอยล์ร้อนด้านบนของถังพักน้ำยาจะ มีกระจกใสสามารถมองเห็นน้ำยาแอร์ได้ และจะมี ท่อน้ำยาแอร์ที่มาจากคอยล์ร้อน ต่อเข้ากับท่อทางเข้าของพักน้ำยาแอร์นี้และจะต่อท่อน้ำยาแอร์ และจะต่อท่อน้ำยาแอร์ออกจากถังพักน้ำยาแอร์ไปสู่วาล์วปรับความดัน เราสามารถตรวจสอบระดับน้ำยาแอร์ในระบบได้จากการมองทะลุไปที่กระจกใส ด้านบนของ ถังพักน้ำยาแอร์ ในขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงานไปสักพักหนึ่ง หากพบว่ามีฟองอากาศในถังพักน้ำยา แอร์อยู่มาก แสดงว่ามีน้ำยาแอร์อยู่ในระบบน้อยแต่ถ้าไม่เห็นเป็นฟองอากาศ และมีลักษณะน้ำหยดอยู่ แสดงว่ามีน้ำยาแอร์อยู่ในระบบในปริมาณที่พอดี

วาล์วลดความดัน ( EXPANSION VALVE )

วาล์ว ลดความดันทำหน้าที่ลดความดันของน้ำยาแอร์ให้ต่ำลงมาเมื่อน้ำยาแอร์มีความดัน ต่ำก็จะทำให้อุณหภูมิของน้ำยาแอร์ต่ำลงมาด้วย จากนั้นก็จะส่งผ่านน้ำยาแอร์เข้าไปสู่คอยล์เย็นต่อไป

คอยล์เย็น ( EVAPORATOR)
คอยล์เย็นมี ลักษณะเป็นแผงและมีท่อโลหะขดไปขดมาเรียงตัวอยู่ในแผง และมีครีบระบายความ เย็นเรียงตัวกันคล้ายกับคอยล์ร้อน แต่ขนาดอาจจะแตกต่างกันโดยที่ด้านหลังจะมีพัดลม ( BLOWER )
ไว้คอยดูด อากาศภายในห้องโดยสารให้ผ่านตัวคอยล์ เย็น ซึ่งอากาศที่ผ่านคอยล์เย็นจะวิ่งไปตาม ท่อทางของ ท่อแอร์ ไปออกที่บริเวณช่องแอร์ที่อยู่บนคอนโซล รถยนต์ และที่คอยล์เย็นจะมีเทอร์โม สตัทติดตั้งอยู่ เพื่อคอยตรวจสอบและควบคุมอุณหภูมิโดยผ่านทางสวิทช์ปรับระดับความเย็นซึ่งถูก ติด ตั้งอยู่บนแผงคอนโซลแอร์(สามารถเลือกอุณหภูมิหรือความเย็นได้หลาย ระดับ) รวมถึงพัดลมดูด อากาศที่อยู่หลังคอยล์เย็นก็สามารถปรับขนาดของความเร็วในการหมุนได้อีกด้วย โดยผ่านทางสวิทช์ ควบคุมความแรงของพัดลมซึ่งติด ตั้งอยู่บนแผงคอนโซลแอร์ เช่นกัน อุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่บริเวณใกล้ๆ กับคอยล์เย็น จะอยู่ในกล่องที่เรามักเรียกว่า ตู้แอร์ จะเป็นตู้สำเร็จรูป ถูกติดตั้งโดยยึดติดกับโครงรถบริเวณใต้คอนโซลหน้าปัทม์ พร้อมทั้งยังมีท่อน้ำทิ้ง ซึ่งต่อออกจากตู้แอร์ออกไปนอกตัวรถ เพราะบาง สถานการณ์ความเย็นที่บริเวณคอยล์เย็น รวมตัว เกาะกันเป็นน้ำแข็งแล้วหยดเป็นน้ำไหลไปตามท่อน้ำทิ้งของตู้แอร์

น้ำยาแอร์ ( REFRIGERANT)
น้ำยาแอร์ คือ สารให้ความเย็น ซึ่งสารชนิดนี้มีคุณสมบัตในการ ดูดซับความร้อน รอบๆ ข้างเข้ามาอยู่ในตัวของมันแล้วทำให้อากาศบริเวณ รอบข้างมีอุณหภูมิต่ำลงน้ำยาแอร์ที่ใช้ในรถยนต์จะใช้สาร CFC-12 (โดยทั่วไปเรียก R-12 ) โดยสารชนิดนี้ เมื่อผ่านกระบวนการทำให้เป็น ของเหลวและทำให้ความดันต่ำแล้ว จะดูดซับความร้อนได้ดีต่อมามี การรณรงค์เรื่องการต่อต้านการใช้สาร CFCเพราะสาร CFCจะไปทำลายชั้น โอโซนของ โลก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อโลกในระยะยาว และน้ำยา CFC-12 ก็เป็นสารประเภทนี้ด้วย ดังนั้นต่อมาผู้ผลิตน้ำยาแอร์ส่วนใหญ่จึงหันมา ใช้น้ำยาสูตรใหม่ คือ HFC-134a (หรือทั่วไปเรียกว่า R-134a )โดยจะใช้ กับรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ถูกผลิตออกมาเพราะจะไม่เป็นอันตรายต่อชั้น โอโซนของโลก

การทำงานของระบบปรับอากาศใน รถยนต์
เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานก็จะทำการดูดน้ำยาแอร์ ที่มีสภาพเป็นก๊าซความดันต่ำ และอุณหภูมิ ต่ำเข้ามาอัดความดันและทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น จากนั้นก๊าซที่มีอุณหภูมิสูงและความดันสูงจะถูกส่งไป ตามท่อทางออกของคอมเพรสเซอร์เข้าสู่แผงคอยล์ร้อน ซึ่งจะทำหน้าที่ระบายความร้อนของก๊าซเหล่านออกไปตามครีบระบายความร้อนจน กระทั่งก๊าซเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวที่มีความดันสูง ไหลออกจากคอยล์ร้อนผ่านท่อทางออกไปเข้าสู่ถังพักน้ำยาแอร์ เพื่อกรองสิ่งแปลกปลอมและดูด ความชื้นไปด้วยในขณะนี้น้ำยาแอร์มีสภาพเป็นของเหลวและความดันสูงไหออกจากถัง พักน้ำยาแอร์ ไปตามท่อเข้าสู่วาล์วปรับความดัน วาล์วปรับความดันจะลดความดันของน้ำยาแอร์ลงมาทำให้อุณหภูมิของน้ำยาแอร์ลด ต่ำลงอย่าง มากเพื่อป้อนเข้าสู่คอยล์เย็น ของเหลวความดันต่ำอุณหภูมิต่ำจะไหลเข้าสู่คอยล์เย็นและจะทำการดูด ซับความร้อนที่บริเวณรอบๆ ตัว ซึ่งพัดลม( BLOWER ) ก็จะทำหน้าที่ดูดอากาศในห้องโดยสารผ่านแผง คอยล์เย็นผ่านท่อทางจนไปออกที่ช่องแอร์บนแผงคอนโซลหน้า อากาศร้อนในห้องโดยสารจะถูกดูด ซับออกไปด้วยวิธีนี้ ส่วนน้ำยาแอร์ก็จะทำการดูดซับความร้อนวนเวียนตามท่อทางเดินที่ขดไปมาบน แผงคอยล์เย็นจนแปรสภาพกลายเป็นก๊าซ และไหลออกจากคอยล์เย็นไปตามท่อเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ซึ่งก๊าซจะมีความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำเข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้งเพื่อเริ่มต้นกระบวนการอัดน้ำยาแอ รใหม่อีกรอบเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดวนเวียนไปเรื่อยๆ จนกว่าคอมเพรสเซอร์จะหยุดการทำงาน



แอร์ไม่เย็น…เกิดอะไรขึ้น Grin

หลังจากเปิดแอร์แล้ว จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้ตู้แอร์แล้วหยดลงบน พื้นถนน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าไม่มีน้ำหยดแสดงว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันควรทำความสะอาดทันที ถ้า ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ตู้แอร์รั่วซึมได้

ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบปรับอากาศรถยนต์
1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ดูดและอัดน้ำยาแอร์ให้มีความดันสูงขึ้นและทำให้น้ำยาแอร์หมุนเวียน ในระบบ ติดตั้งอยู่ที่เครื่องยนต์ อาศัยแรงขับจากเครื่องยนต์ ผ่านสายพาน มักเรียกกันว่า คอมแอร์

2. คอนเดนเซอร์ ทำหน้าที่ระบายความร้อนน้ำยาแอร์ที่ออกจาก คอมเพรสเซอร์ โดยอาศัยพัดลมระบายความร้อนหรือลมปะทะขณะรถวิ่ง

3. รีซีฟเวอร์ – ดรายเออร์ ทำหน้าที่ดูดความชื่น กรองสิ่งสกปรกในน้ำยาแอร์และกักเก็บน้ำยาแอร์ให้มีปริมาณเหมาะสมกับการใช้ งานในระบบ ติดตั้งระหว่างคอนเดนเซอรืกับตู้แอร์ ที่ด้านบนจะมีตาแมวเพื่อใช้ดูว่าน้ำยาแอร์มีเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้บางรุ่นยังมีสวิตซ์ความดันติดตั้งอยู่ด้วย สวิตช์นี้มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์เสียหาย ถ้าความดันใ นระบบสูงหรือต่ำเกินไป ชุดคลัตช์แอร์จะตัดการทำงานทันที

4. ตู้แอร์ ติดตั้งอยู่ในห้องโดยสารบริเวณหลังแผงหน้าปัด

มี ส่วนประกอบที่สำคัญคือ
1. อีวาปอเรเตอร์ ทำหน้าที่เปลี่ยนอากาศร้อนให้อากาศเย็น
2. พัดลมตู้แอร์หรือชุดโบลว์เออร์ ทำหน้าที่ดูดอากาศร้อนภายในห้อง โดยสารให้ผ่านอีวาปอเรเตอร์เป็นลมเย็นเป่าออกทางช่องลม
3. เอกซ์แพนชันวาล์ว ทำหน้าที่ปรับความดันของน้ำยาแอร์มีคุณสมบัติในการดูด ความร้อนจากอากาศ
4. ชุดทำความร้อน ใช้ความร้อนจากน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์มาอุ่นให้อากาศร้อนขึ้นแล้วเป่าออก มาโดยพัดลม ตามปกติใช้ในขณะอากาศหนาว

สาเหตุ ที่แอร์รถยนต์ไม่เย็นเกิดจาก
1.ฟิวส์และรีเลย์ในวงจรเครื่องปรับ อากาศชำรุด และขั้วต่อสายไฟตามจุดต่าง ๆ ต่อไว้ไม่แน่น
2.สวิตช์ความดัน สูง ? ต่ำในระบบชำรุด หรือขั้วต่อไม่แน่น ทำให้คอม ? เพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน ถ้าความดันในระบบสูงหรือต่ำเกินไป คอมเพรสเซอร์ก็จะไม่ทำงานเช่นกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหาย
3.คลัตช์แม่เหล็กไม่ทำ งาน หรือสายไฟเข้าคลัตช์แม่เหล็กขาด
4.สายพานแอร์หย่อนเกินไปหรือขาด ทำให้คอมเพรสเซอร์หมุนช้าหรือไม่หมุน
5.พัดลมไฟฟ้าของแอร์ไม่ทำงานหรือ หมุนช้า ทำให้ความร้อนที่คอน ?เดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) สูง สาเหตุอาจเกิดจากแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ หรือตัวมอเตอร์พัดลมแอร์เริ่มเสื่อมสภาพ
6.มีเศษผงหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ ที่ด้านหน้าคอนเดนเซอร์แอร์ ควรใช้ลมที่มีความดันไม่เกิน 10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป่าทำความสะอาด อย่าใช้ลมที่มีความดันสูงกว่านี้ เพราะอาจทำให้ครีบทที่คอนเดนเซอร์แอร์บิดงอ
7.ตัวเอ็กซ์แพนชัววาล์วเสีย หรือเสื่อมสภาพ ทำให้คอมเพรสเซอร์ แอร์ตัด ? ต่อบ่อยเกินไป
8.ตัวรีซี ฟเวอร์ – ดรายเออร์เสื่อมสภาพ ที่ด้านบนจะมีกระจกใสเพื่อตรวจดูน้ำยาแอร์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ถ้ากระจกใสหรือมีฟองอากาศเล็กน้อยแสดงว่าปกติ
9.น้ำยาแอร์รั่วซึมตามจุด ต่าง ๆ เช่น บริเวณข้อต่อ รั่วที่ซีลดโอริง รั่วที่คอนเดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) รั่วที่บริเวณใต้ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ภายในตู้ทำให้เกิดการผุกร่อน ปัจจุบันตู้แอร์ส่วมมากทำด้วยอะลูมิเนียม ถ้ามีน้ำขังอยู่จะทำให้ตู้แอร์รั่วได้ง่าย
10คอมเพรสเซอร์แอร์เสื่อมสภาพ

น้ำยา แอร์รั่วตามจุดต่าง ๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แอร์ไม่เย็น จุดที่น้ำยาแอร์รั่วบ่อยได้แก่ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ วิธีตรวจว่าระบบปรับอากาศรถยนต์ทำงานปกติหรือไม่ ทำได้โดยติดเครื่องยนต์และเปิดแอร์ ใช้มือจับที่ท่อดูดจะเย็นหรือบางทีมีน้ำเกาะ ส่วนที่ท่อจ่ายจะร้อน ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าระบบปรับอากาศทำงานตามปกติ

คำแนะนำ
หมั่นดูดฝุ่นภายในรถบ่อย ๆ และไล่น้ำออกจากตู้แอร์ทุกครั้งก่อนดับเครื่องยนต์
หลังจากปิดแอร์แล้ว จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้ตู้แอร์แล้วหยุดลงบนพื้นถนน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าไม่มีน้ำหยดแสดงว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันควรทำความสะอาดทันที ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ดูแอรืรั่วซึมได้

ความดันของระบบ

เราสามารถแบ่ง ความดันของระบบออกได้ 2 ด้าน

1.ด้าน ความดันสูง (high side) มีความดันเท่ากันตลอด ประกอบด้วยด้าน ดิสชาร์จ (Discharge) ของคอมเพรสเซอร์ เข้าสู่ท่อ ท่อดิสชาร์จ ( Discharge line ) ,คอนเดนเซอร์ ( Condenser ), ดรายเออร์และรีซีฟเวอร์ ( Drier & receiver ), ท่อลิควิด ( Liquid line ) และทางเข้าของ แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ( Expansion valve)

2.ด้านความดันต่ำ (Low side)มีความ ดันเท่ากันตลอด เริ่มจากทางด้านออกของ แอ็กซแพนชั้นวาลว์ (Expansion valve) เข้าสู่ อีวาโปเรเตอร์ ( Evaporator ) ,ท่อซักชั่น ( Suction line) และด้านซักชั่น (Suction) ของคอมเพรสเซอร์

ซึ่ง ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความดันของระบบซึ่งทำงานปรกติคือ อากาศภายนอกรถยนต์ ซึ่งจะทำหน้าที่ระบายความร้อน ออกจากระบบ ถ้าระบบสามารถระบายความร้อนได้ดี ความดันของระบบก็จะเป็นปรกติ

ในการบริการระบบทำความเย็นหรือระบบปรับ อากาศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบความดันทั้งสองด้าน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ต้องมีวาวล์บริการไว้ประจำทั้งสองด้านของระบบ ซึ่งวาวล์บริการทั้งสองคือ วาวล์บริการด้าน ความดันสูง (high side service valve ) และวาวล์บริการด้านความดันต่ำ (low side service valve ) จะติดตั้งในบริเวณที่สะดวกที่จะบริการ

วงจร พื้นฐานของระบบทำความเย็นและปรับอากาศ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักอยู่ 5 อย่างและมีระบบท่ออีก 3 ท่อที่สำคัญดังนี้

อุปกรณ์หลัก 1.คอมเพรสเซอร์( Compressor) 2.คอนเดนเซอร์ ( Condenser ) 3.ดรายเออร์และรีซีฟเวอร์ ( Drier & receiver ) 4.แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ( Expansion valve) 5.อีวาโปเรเตอร์ ( Evaporator )

ระบบท่ออีก 3 ท่อ

6.ท่อ ดิสชาร์จ ( Discharge line ) 7.ท่อลิควิด ( Liquid line ) 8.ท่อซักชั่น ( Suction line )

การทำงานของระบบ

เริ่ม ต้นที่สารทำความเย็น ( Refrigerants ) เพราะว่าถ้าปราศจาก สาร ทำความเย็นแล้ว ไม่ว่าการทำความเย็นหรือปรับอากาศก็จะไม่เกิดขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือ คุณสมบัติของสารทำความเย็น คือสารที่ดูดความร้อนเข้าสู่ตัวเองที่อุณหภูมิต่ำ และระบายความร้อนออกที่ อุณหภูมิสูง ยกตัวอย่างเช่น CFC -12 ซึ่งเป็นสารทำความเย็นยอดนิยมมาตั้งแต่ปี คศ.1930 จนยกเลิกการผลิตไปในปี คศ.2000

สารทำความเย็น CFC-12 มีจุดเดือดที่-29.8 ?C และมีค่าความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ 39.97 kcal/kg ถ้าเปรียบเทียบจุดเดือดกับ น้ำ ซึ่งมีจุดเดือดที่ 100 ?C แล้ว สารทำความเย็น CFC-12 มีจุดเดือดที่ต่ำกว่า จึงมีความเหมาะสมมากกว่าที่จะนำไปใช้เป็นสารทำความเย็น

การทำงานของระบบปรับอากาศรถยนต์

1.คอมเพรสเซอร์( Compressor) ทำหน้าที่ดูดสารทำความเย็นที่เข้ามาทาง ท่อซักชั่น ( Suction line )หรือท่อดูด สารทำความเย็นที่ดูดเข้ามานี้มีสถานะเป็นไอ (ไออิ่มตัว saturated vapor )มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ แล้วอัดออกไปด้วยกำลังของเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ ออกมาทางท่อท่อดิสชาร์จ ( Discharge line )หรือท่อจ่าย สารทำความเย็นที่ถูกอัดออกไปนี้จะมีสถานะเป็นไอ (ไอยิ่งยวด superheated vapor) มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง

2.คอนเดนเซอร์ ( Condenser ) ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น สารทำความเย็นที่ถูกอัดออกมาจาก คอมเพรสเซอร์ เข้ามาทางท่อท่อดิสชาร์จ ( Discharge line )หรือท่อจ่าย มีสถานะเป็นไอ (ไอยิ่งยวด superheated vapor)มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง หลังจากระบายความร้อนออกแล้ว สารทำความเย็น จะมีสถานะเป็นของเหลว (ของเหลงอิ่มตัว satured liquid) มีความดันสูงและอุณหภูมิ สูงคอนเดนเซอร์ ( Condenser ) ติดตั้งบริเวณส่วนหน้าของรถหน้าหม้อน้ำรถยนต์ มีพัดลมทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อน

3.ดรายเออร์และรีซีฟเวอร์ ( Drier & receiver) สารทำความเย็นที่ออกจาก คอนเดนเซอร์ จะถูกส่งมาที่ ดรายเออร์และรีซีฟเวอร์ เพื่อทำการกรอง , ดูดความชื้น และพักสารทำความเย็นเพื่อจะส่งต่อไปยัง แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ผ่านทางท่อ ท่อลิควิด ( Liquid line )

4.แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ( Expansion valve) ทำหน้าที่ทำหน้าที่ลดความดัน ของสารทำความเย็น และควบคุมสารทำความเย็นที่ฉีดเข้าสู่อีวาโปเรเตอร์ ให้พอเหมาะที่จะกลายเป็นไอในอีวาโปเรเตอร์ การฉีดนั้นเช่นเดียวกับการฉีดน้ำทางท่อยางที่บีบปลายท่อใว้ สารทำความเย็นจะถูกฉีดเข้าไปเป็นฝอย จะมีสถานะเป็นไอเปียก มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ เข้าสู่ อีวาโปเรเตอร์

5.อีวาโปเรเตอร์ ( Evaporator ) รับสารทำความเย็นที่ฉีดออกมาจาก แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ซึ่ง มีลักษณะเป็นฝอย มีสถานะเป็นไอเปียก มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากคุณสมบัติของสารทำความเย็นที่มีจุดเดือดที่อุณหภูมิต่ำ ที่อีวาโปเรเตอร์นี้เองที่สารทำความเย็นจะดูดความร้อนเข้าสู่ตัวเองแล้วกลาย เป็นไอ (ไออิ่มตัว มีความดันต่ำ และอุณหภูมิต่ำ ) ออกจาก อีวาโปเรเตอร์แล้วถูกดูดเข้าสู่ คอมเพรสเซอร์ เมื่อความร้อนของอากาศโดยรอบอีวาโปเรเตอร์ถูกดูดออกไป ที่เหลือก็คืออากาศเย็น ที่พัดออกมาทางช่องลมเย็นนั้นเอง

การตรวจสอบรอยรั่ว

1. แบบฟองสบู่
เป็นวิธีการที่นิยมใช้มากเนื่องจากว่า ประหยัดค่าใช่จ่าย ง่ายต่อการตรวจสอบ มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เพราะเพียงแค่เราสังเกตุดูลักษณะฟองสบู่ในจุดที่เราทำการตรวจเช็ค เราก็จะทราบว่าในจุดๆนั้นมีรอยรั่วหรือไม่
2. แบบตะเกียงตรวจรั่ว มีหลักการคร่าวๆคือใช้ตะเกียงที่มักต่อกับกระป๋องแก๊สขนาดเล็กที่ถือได้ สะดวกและแก๊สที่ใช้มักเป็นแก๊สโพรเพน เมื่อจุดไปให้ตัวตะเกียงจะเกิดเปลวไฟขึ้น ซึ่งสีเปลวไฟจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับสีเปลวไฟของระบบเตาแก๊สในบ้านเรือน เมื่อมีการนำไปตรวจรั่ว ถ้ามีการรั่วของสารทำความเย็นในระบบ เปลวไฟจะเปลี่ยนสีไปจากปกติทันที โดยลักษณะของเปลวไฟจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน
3. แบบอิเล็กทรอนิกส์ จัดได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบรอยรั่วระบบปรับอากาศรถยนต์และระบบปรับ อากาศทั่วๆไปที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถวิเคราะห์จุดรั่วได้แม้จะเป็นจุดรั่วเล็กน้อยก็ตาม โดยปกติแล้วจะมีใช้อยู่ 2 ระบบคือระบบแสงและระบบเสียง โดยจะมีแสงกระพริบหรือเสียงเตือนเมื่อมีการรั่วเกิดขึ้นในบริเวณใด แต่เครื่องตรวจสอบรอยรั่วแบบอิเล็กทรอนิกส์มักมีราคาแพง จึงไม่เป็นที่นิยมในท้องตลาดเท่าใดนัก

คอมเพรสเซอร์

คอมเพรสเซอร์ หรือ เครื่องอัด คือ อุปกรณ์ที่เพิ่มความดันของสารความเย็นที่อยู่ในสภาวะที่ เป็นไอ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการดูดและอัดน้ำยาในสถานะที่เป็นแก๊สคือดูดน้ำยาที่เป็น ซูเปอร์ฮีต แก๊ส ความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำจากอิวาพอเรเตอร์ผ่านเข้ามาทางท่อซักซั่น เข้ายังทางดูดของ คอมเพรสเซอร์ แล้วอัดแก๊สนี้ให้มีความดันสูงขึ้นและมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย ส่งเข้ายังคอนเดนเซอร์ โดยผ่านเข้ายังท่อดิสชาร์จเพื่อไปกลั่นตัวเป็นของเหลวในคอนเดนเซอร์ด้วยการ ระบายความร้อนออก จากน้ำยานี้อีกทีหนึ่ง? ?ชนิดของคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ในระบบปรับอากาศรถยนต์ คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญของระบบเครื่องทำความเย็น สำหรับเครื่องปรับ อากาศรถยนต์แล้วคอมเพรสเซอร์ที่ใช้แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
1.แบบลูกสูบ
2.แบบสวอชเพลต
3.แบบโรตารี
คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ หน้าที่และการทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบคือจะดูดและอัดน้ำยาในสถานะที่ เป็นแก๊ส โดยดูดน้ำยาในสถานะแก๊สที่มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำเข้ามาอัดตัวให้เป็น แก๊สที่มีความดันสูงและอุณหภูมิสูงขึ้นและส่งไปยังคอนเดนเซอร์ หลักการทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบคือ ในแต่ละกระบอกสูบจะประกอบด้วยชุดของลิ้นทางดูดและลิ้นทางอัดซึ่งติดอยู่กับ วาล์วเพลต ขณะที่ลูกสูบหนึ่งลงในจังหวะดูด อีกลูกหนึ่งจะเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัด

คอมเพรสเซอร์ แบบโรตารี คอมเพรสเซอร์แบบโรตารีจะฉุดกำลังเครื่องยนต์น้อยกว่าแบบอื่นๆ มีขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่า แต่ขีดจำกัดของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารีก็คือขนาดเครื่องปรับอากาศ ถ้าจำนวนบีทียูของเครื่องมีขนาดมากกว่า 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพของคอมเพรสเซอร์แบบนี้จะลดลง ซึ่งด้อยกว่าแบบสวอชเพลตหรือลูกสูบ และเนื่องจากรถยนต์ของอเมริกันเป็นรถขนาดใหญ่ ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องการขนาดบีทียูที่สูงกว่ามาก จึงต้องใช้คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลตหรือลูกสูบ

คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลต ปัจจุบันคอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลตเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการติด ตั้งเครื่องปรับอากาศรถยนต์ เพราะคอมเพรสเซอร์แบบนี้มีขนาดเล็กกะทัดรัด มีประสิทธิภาพการทำงานสูง และฉุดแรงเครื่องน้อยกว่าแบบลูกสูบ ในขนาดของการทำความเย็นจำนวนบีทียูเท่ากัน

credit :: http://www.siamviewer.com
credit :: http://www.familycar.com

Read More

11 เคล็ดลับในการลดการใช้น้ำมันรถ




1. สิ่งแรกที่จะต้องคำนวณ คือ ระยะทาง เส้นทางการเดินทางว่าจะต้องไปตาม ถนนเส้นใดในแต่ละช่วงเวลา ควรหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีระยะทางสั้น แต่การจราจรติดขัด การหยุดรถ และออกตัวใหม่แต่ละครั้งจะยิ่งเพิ่มความสิ้นเปลืองน้ำมัน

2. เมื่อรู้เส้นทางแล้ว อันดับต่อมา คือ การขับขี่ ควรรักษาความเร็วรอบให้สม่ำเสมอ ที่ประมาณ 80-100 กม. / ชม.

3. คำนวณปริมาณน้ำมันและเติมให้อยู่ในอัตราที่เพียงพอต่อการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องเติมเต็มถัง ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยลดน้ำหนักของตัวรถ

4. ต้องรู้จักว่ารถยนต์ที่ใช้งานอยู่นั้น เหมาะกับน้ำมันประเภทไหน สามารถใช้ค่าออกเทนเท่าไหร่ และไม่จำเป็นต้องเลือกใช้ค่าออกเทนที่สูงเกินกว่าความต้องการ

5. ลมยางเติมให้อยู่ในปริมาตรที่กำหนดไม่ให้ยางอ่อน หรือแข็งเกินไป และในการเติมน้ำมันนั้น ควรเติมในเวลาเช้าหรือช่วงที่อากาศเย็น จะทำให้ได้น้ำมันมากขึ้นกว่าเติมในช่วงที่อากาศร้อน เพราะตอนอากาศเย็นความหนาแน่นของน้ำมันจะมาก

ุ6. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน ติดเครื่องยนต์นาน 10 วินาที กินน้ำมันมากกว่า ที่สตาร์ตรถอีกครั้ง

7. ก่อนที่จะเริ่มต้นการเดินทาง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ปรับแต่งรถดีแล้ว ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณประหยัดน้ำมัน แต่ยังตัดปัญหาในอนาคตกับเครื่องยนต์

8. หลีกเลี่ยงการใช้เกียร์ต่ำเป็นเวลานาน หรือการขับรถขึ้นเนินโดยใช้เกียร์สูง เป็นการปกป้องเครื่องยนต์ไม่ให้ร้อนเกินไป

9. อย่าออกรถโดยขับกระชากด้วยความเร็ว ควรค่อย ๆ ออกรถแล้วเพิ่มความเร็วอย่างมีสติ ก่อนหยุดรถก็ค่อย ๆ ผ่อนความเร็วลงช้า ๆ หลีกเลี่ยงการหยุดรถอย่างกะทันหัน (เว้นแต่กรณีจำเป็น)

ึ10. เมื่อรถมีความเร็วควรปิดหน้าต่างเพื่อลดแรงต้านอากาศนอกตัวรถ และใช้เครื่องปรับอากาศในรถแทน จะลดการใช้น้ำมันมากกว่า

11. ใช้ยางรถยนต์ชนิดประหยััดน้ำมัน เพราะจะช่วยลดแรงเสียดทานกับพื้นถนน

Read More

ระบบเกียร์รถยนต์ Transmission car






Toyota U660E / U760E 6-Speed Automatic Transaxle Power flow









เทคนิคการเบื้องต้นในการขับรถเกียร์ธรรมดา
เทคนิคแรก : ทุกครั้งก่อนออกจากรถ ผู้ขับรถควรจะปลดเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่างพร้อมทั้งดึงเบรกมือค้างไว้ เพื่อป้องกันการหลงลืมเมื่อมีการไขกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งใหม่ เพราะเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยเกียร์ไม่ได้อยู่ ในตำแหน่งเกียร์ว่าง รถจะพุ่งไปข้างหน้า หรือถอยหลังอย่างฉับพลัน อันจะก่อให้เกิดอันตรายได้ สำหรับการ ปลดเกียร์ว่าง นอกจากจะปฏิบัติก่อนออกจากรถทุกครั้งแล้ว อาจปฏิบัติในขณะรถติดนาน ๆ ได้ด้วย โดยดึงเบรกมือ แทนการเหยียบเบรก และคลัทช์ค้างไว้ ช่วยพักเท้าคลายอาการเมื่อยล้าได้ด้วย




เทคนิคที่สอง : ควรเหยียบคลัทช์ทุกครั้งที่สตาร์ทเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ มาสู่ระบบ ขับเคลื่อน เพราะหากลืมปลดเกียร์มาที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง การเหยียบคลัทช์จะทำให้รถไม่พุ่งไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน

เทคนิคที่สาม : เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วของรถ และเปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ไม่ต่ำ หรือสูงเกินไป (2,000 ? 3,000 รอบ/นาที) จะทำให้การขับขี่นุ่มนวลยิ่งขึ้น และประหยัดน้ำมันอีกด้วย

เทคนิคที่สี่ : มือใหม่หัดขับ มักพยายามหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ต้องขึ้นสะพาน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องติดค้าง อยู่บนสะพาน ผู้ขับมือใหม่มักกังวลว่าจะทำอย่างไรดีเพื่อไม่ให้รถไหลไปชนคันหลัง วิธีง่าย ๆ ก็คือ ปลดเกียร์ว่าง พร้อมกับดึงเบรกมือ และเมื่อจะเคลื่อนตัวให้ผู้ขับเหยียบคลัชท์และเข้าเกียร์ 1 พร้อมที่จะออก แล้วเหยียบคันเร่งช้า ๆ พร้อมกับปลดเบรกมือ รถอาจจะไหลบ้างเล็กน้อยตามพื้นที่ลาดเอียง มือใหม่หัดขับไม่ต้องตกใจ ออกตัวรถไปตามปกติ

เทคนิคที่ห้า : หมั่นฝึกเปลี่ยนเกียร์ให้เกิดความชำนาญ โดยใช้ประสาทสัมผัสแทนการเหลือบมอง เพื่อป้องกัน การเกิดอุบัติเหตุ

เทคนิคที่หก : การชะลอรถ/หยุดรถ เมื่อขับมาด้วยความเร็ว ให้ค่อย ๆ แตะเบรก อย่าพึ่งเหยียบคลัทช์ เพื่อให้กำลัง ของเครื่องยนต์เป็นตัวช่วยชะลอรถ (ENGINE BRAKE) จากนั้น เมื่อรถใกล้จะหยุด ให้เหยียบคลัทช์ และเมื่อรถ หยุดสนิทให้ปลดเกียร์ว่าง พร้อมทั้งดึงเบรกมือเพื่อป้องกันรถไหล

ข้อควรระวังที่มือใหม่หัดขับไม่ควรจะละเลย นั่นคือ ไม่ควรวางเท้าไว้ที่แป้นคลัทช์ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้เหยียบคลัทช์ก็ตาม เพื่อยืดอายุการใช้งานของลูกปืนคลัทช์ นอกจากนี้ ยังไม่ควรเลี้ยงคลัทช์เมื่อรถติดอยู่บนเนินหรือสะพาน เพราะจะทำให้คลัทช์ไหม้ หรือคลัทช์ลื่น และอายุการใช้งานของผ้าคลัทช์ก็จะสั้นลงด้วย

เทคนิคการเบื้องต้นในการขับรถเกียร์อัตโนมัติ


ทุกวันนี้รถยนต์โดยทั่วไปบนท้องถนน มักเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยเกียร์อัตโนมัติ เพราะให้ความสะดวกสบายในการขับขี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพฯ ซึ่งจะต้องขับเคลื่อน และชะลอตัว หรือเบรกอยู่บ่อยครั้ง

ในการขับขี่รถยนต์เกียร์อัตโนมัตินั้น ผู้ขับขี่ควรจดจำตำแหน่ง และใช้เกียร์แต่ละเกียร์ได้ อย่างถูกต้อง แม่นยำ ซึ่งเกียร์อัตโนมัติแต่ละตำแหน่ง มีดังนี้


P หมายถึง PARKING เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับจอดรถ และไม่ต้องการให้รถเคลื่อน โดยล้อรถจะถูกล็อกไว้ ไม่สามารถเข็นได้ เช่น ในการจอดบนทางลาดชัน เมื่อต้องการจอดรถทิ้งไว้ หลังจากเหยียบเบรกจนรถหยุดสนิทแล้ว อย่าเพิ่งปล่อยเบรก จับคันเกียร์กดปุ่มปลดล็อก แล้วโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P จากนั้นปล่อยเบรก แล้วดับเครื่องยนต์

R หมายถึง REVERSE เป็นเกียร์สำหรับการถอยหลัง เมื่อต้องการเข้าเกียร์ R จะต้องเหยียบเบรก ให้รถหยุดสนิท จากนั้นจับคันเกียร์กดปุ่มปลดล็อกแล้วโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง R แล้วจึงปล่อยเบรก กดคันเร่ง ให้รถเคลื่อนตัวถอยหลัง

N หมายถึง NEUTRAL เป็นตำแหน่งเกียร์ว่างใช้เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์หรือต้องการจอดรถทิ้งไว้โดยที่ยังสามารถเข็นได้ หรือเมื่อจอดรถ อยู่กับที่ ในขณะเครื่องยนต์ยังคงทำงานอยู่ เช่น การจอดรถในสภาพการจราจรติดขัด หรือเมื่อติดไฟแดง

D4 หมายถึง เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ใช้ในการขับรถเดินหน้าในสภาพการขับขี่ทั่วไป เช่น การขับรถ ในตัวเมือง รวมทั้งการขับรถด้วยความเร็วสูง ซึ่งการทำงานของเกียร์ D4 จะเป็นไปในลักษณะ 4 สปีด คือ เกียร์ จะเปลี่ยน ขึ้นตามลำดับ จากเกียร์ 1 ไปเกียร์ 2 หรือจากเกียร์ 2 ไปเกียร์ 3 หรือจากเกียร์ 3 ไปเกียร์ 4 โดยอัตโนมัติ ตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์และความเร็วของรถ ยิ่งผู้ขับเหยียบคันเร่งมาก เกียร์ก็จะเปลี่ยนที่ความสูงขึ้น ตามไปด้วย

ในทางกลับกัน เมื่อลดความเร็ว เกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ไปเกียร์ 3 หรือจากเกียร์ 3 ไปเกียร์ 2 หรือจากเกียร์ 2 ไปเกียร์ 1

D3 หมายถึง เกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด ใช้สำหรับขับรถขึ้นหรือลงเนิน เพื่อป้องกันมิให้เกียร์เปลี่ยนกลับไป กลับมาบ่อยๆ ระหว่างเกียร์ 3 และเกียร์ 4 นอกจากนี้ยังใช้สำหรับกรณีที่ต้องการ ให้เครื่องยนต์ช่วยเพิ่มกำลัง เบรกมากขึ้น

ในตำแหน่ง D4 และ D3 หากต้องการเร่งความเร็วอย่างทันทีทันใด เช่น ในเวลาที่ต้องเร่งแซงรถที่อยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ สามารถใช้การ KICK DOWN เหยียบคันเร่งจมติดพื้น เกียร์จะเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ และทำให้รถพุ่ง ไปข้างหน้าเร็วขึ้น

2 หมายถึง เกียร์ 2 ใช้สำหรับการขับรถลงเขาเพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเพิ่มกำลังเบรกมากขึ้น หรือการขับรถขึ้นเขา เพื่อเพิ่มกำลังขับเคลื่อน รวมทั้งการขับบนถนนลื่น และการขับขึ้นจากหล่มโคลนหรือทราย

1 หมายถึง เกียร์ 1 ใช้สำหรับการขับรถขึ้น-ลงเขาสูงชันมากๆ

การเลือกใช้งานของเกียร์อัตโนมัติแต่ละเกียร์ได้อย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือ ความเสียหาย ต่อระบบขับเคลื่อนแล้ว ยังให้การขับขี่ที่นุ่มนวลอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.alairodyont.com



Basic techniques of driving a manual transmission car.
The first technique: Each time before leaving the car. The driver should be in a position to disconnect the transmission gear and to pull the hand brake and hold. To prevent forgetting to unlock when the engine re-start. Because, when starting the engine. The gear is not. Gear position. Car will surge forward. Or down abruptly This will be dangerous for the release gear. In addition to practice before all times, and then out of the car. May practice as long traffic jam by hand by pulling the brake. Instead of the brake pedal. And the clutch and hold. Help relieve symptoms stay on your feet with fatigue.

The second technique: Keep the clutch pedal to start the engine every time. To prevent the transmission from the engine to the drive system, because if you forget to disconnect the transmission gear position. The clutch pedal car will not jump ahead too.

The third technique: choosing the right gear with the speed of the car. And the shifting speed of the engine no less. Or too high (2000? 3000 rpm) to make driving more gently. And fuel economy as well.

Four techniques: Beginners learn to drive Usually try to avoid the path to the bridge. However, if unavoidable. And be stuck on the bridge novice drivers tend to worry about how best to prevent flow to the vehicle after vehicle hit an easier way is to simply disconnect the gear. Ready to pull the hand brake. And when it moves to the driver stepped on the clutch and gears out a ready to leave. Then slowly, with the throttle hand brake release. Shopping may be flowing a little slope areas. Beginners learn to drive worry. Out of the vehicle as usual.

The five techniques: Always practice the skills to change gears. Instead of using sensory glance to prevent accidents.

Six techniques: a slow car / bus stop. When driving with the speed brake slowly, do not just tap the clutch pedal. To power The delay of a car engine (ENGINE BRAKE), and then when the car is almost stopped. The clutch pedal and the car stopped close to the release gear. Pull the hand brake as well as to protect vehicle flow.

Cautions that novice drivers should learn to ignore it is not the key to put the foot clutch all the time. Despite not even stepped on the clutch. To extend the useful life of the clutch bearings are also not raising the clutch when the car is stuck on a hill or bridge. It will make the clutch burning. Or clutch slip And lifetime of the fabric clutch, it will be shorter with

The basic technique for driving automatic transmission.


In general, today's cars on the road. Vehicles are often driven by automatic transmission. It provides the convenience of driving. Especially the traffic jams in Bangkok. Which will be powered and slow or brake frequently.

In driving the automatic transmission. Drivers should remember position And each transmission gear is precisely the automatic transmission for each position are as follows.


PARKING P means a position that is used for parking. And do not want the car drove. The wheels are locked. Can not, such as in a cart parked on the ramp slope. To leave the car park. After the brake pedal until the car shut off. Do not release the brake. Car gear handle press unlock. Country and rock gear to position P, then release the brakes. Then stop the engine.

R refers to the REVERSE gear for reversing To gain access to gear R will have to brake pedal. Close to bus stop. Then press the gear handle cars unlocked cars rocking gear to the R position and then release the brake, press the accelerator the car moves backward.

N refers to a NEUTRAL gear position when starting the engine or to leave the car park while being able to Cart. Or when parking on the spot while the engine still running, such as parking in a traffic jam. Or on fire red

D4 refers to the 4-speed automatic transmission used in driving forward the general driving conditions such as driving in the city, including driving at high speed. The work of gear D4 will be in style 4 speed is the gear to change the level of gear one to gear 2 or the gear 2 to gear 3 or the gear 3 to gear 4 automatically based on the working conditions of the engine. and the speed of the car. The driver stepped on the accelerator a lot more. Transmission will shift at higher as well.

On the other hand, when the reduced speed Transmission to shift from gear 4 to gear 3 or the gear 3 to gear 2 or the second gear to first gear.

D3 means three-speed automatic transmission for driving up and down the hill. In order to prevent transmission to change gear to come back more often between the third and fourth gears are also used if needed. To help increase engine braking more.

D3 and D4 in the position to accelerate suddenly, such as the time required to accelerate the passing car in front of the driver can use a KICK DOWN throttle stick floor sink. Change gears automatically. And the car jump. Forward faster.

2 for gears 2 for driving down the hill to help increase engine braking more. Or driving uphill. To driving. As well as driving on slippery roads. And venting from mud or sand puddle.

A first gear means for driving up - a very steep hill.

The use of the automatic transmission, each gear properly. In addition to helping prevent injury or damage to the drive then. To provide smooth driving as well.
Thanks for the information. http://www.alairodyont.com.

Read More

ระบบเครื่องยนต์ Engine system






















การทำงานของเครื่องยนต์


การระเบิดในกระบอกสูบ เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel) ผสมกับก๊าซไอดี (Intake) ในอัตราส่วนที่เหมาะสม รวมทั้งแรงอัดอากาศ ในจังหวะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นไปที่ตำแหน่งศูนย์ตายบน (Top Dead Center) จากนั้น ก็จะเกิดประกายไฟจากหัวเทียน ทำให้เกิดการระเบิดขึ้น หลังจากเกิดการระเบิดแล้ว ก็จะเกิดไอเสีย (Exhaust) ขับข่ายออกไปทางท่อไอเสีย และจะเกิดเหตุการณ์ แบบนี้ซ้ำๆ กันไป จนกว่าจะดับเครื่องยนต์ การทำงานของลูกสูบ ยังแบ่งออกเป็นแบบ 4 จังหวะ และ 2 จังหวะ

*
เครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ
*
เครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะ



การทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ





1. จังหวะดูด (Intake Stroke)
คือจังหวะแรกของการที่ ลูกสูบ เคลื่อนที่ ลงมาจาก ศูนย์ตายบน (Top Dead Center) จนถึงศูนย์ตายล่าง (Bottom Dead Center) ในจังหวะนี้ วาล์วไอดีจะเปิด และวาล์ดไอเสียจะปิด เท่ากับว่า การเคลื่อนที่ลงในครั้งนี้ เป็นการดูดเอาไอดีเข้ามา อยู่ในกระบอกสูบ





2. จังหวะอัด (Compression Stroke)

คือจังหวะที่ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่าง ขึ้นไปสู่ศูนย์ตายบนอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ วาล์วไอดี และวาล์วไอเสียจะปิดทั้งคู่



3. จังหวะกำลัง (Power Stroke)
คือจังหวะที่ลูกสูบเคลี่อนที่จากศูนย์ตายบน ลงสู่ศูนย์ตายล่างอีกครั้ง เนื่องจาก แรงระเบิดจากการที่ หัวเทียนเกิดประกายไฟ ในจังหวะนี้ วาล์วไอดี และไอเสียจะปิดทั้งคู่




4. จังหวะคาย (Exhaust Stroke)

จังหวะนี้ ลูกสูบจะเคลื่อนที่ จากศูนย์ตายล่าย ขึ้นสู่ศูนย์ตายบนอีกครั้ง และในจังหวะนี้เอง วาล์วไอเสียจะเปิดขึ้น เพื่อให้ไอเสียหลังการระเบิด ได้ระบายออกไปทางวาล์วไอเสีย



การทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะ
เครื่องยนต์ชนิด 2 จังหวะ ถูกออกแบบมาไม่เหมือนกับเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะคือ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ จะใช้วาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย เป็นกลไก ในการจ่ายไอดี และไอเสียสลับกัน แต่เครื่อง 2 จังหวะ ถูกออกแบบให้มีช่องไอดี และไอเสีย อยู่ที่กระบอกสูบ ซึ่งช่องนี้ จะเปิด หรือปิดได้ อยู่ที่การเคลื่อนที่ของตัวลูกสูบ เท่ากับว่าลูกสูบ ทำหน้าที่เป็นวาล์วไปในตัว


1. จังหวะดูด และอัดในกระบอกสูบ
เป็นจังหวะที่ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่าง ขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ระหว่างการเคลื่อนที่นี้เอง ด้านบนลูกสูบ คือการอัดอากาศไอดี ในขณะเดียวกัน ช่องไอเสีย จะถูกปิดด้วยตัวลูกสูบ โดยอัตโนมัติ โดยที่เวลาเดียวกันนี้เอง ความสูงของลูกสูบก็พ้นช่องไอดีออกไป ทำให้อากาศไอดี ใหลเข้าสู่ห้องเพลาข้อเหวี่ยง โดยอัตโนมัติ เช่นกัน




2. จังหวะกำลัง และจังหวะคายในกระบอกสูบ

เมื่อลูกสูบ เคลื่อนที่ขึ้นไปสู่ศูนย์ตายบน ก็จะเกิดประกายไฟ จากหัวเทียน ทำให้เกิดระเบิดเพื่อดันลูกสูบ ลงไปสู่ศูนย์ตายล่างอีกครั้ง ในระหว่างการเคลื่อนที่ลงครั้งนี้ ความสูงของลูกสูบ ก็จะไปปิดช่องอากาศทางเข้าไอดี และด้านบนของลูกสูบ ก็จะพ้นช่องทางออกของไอเสีย ทำให้อากาศไอเสีย ใหลผ่านออกไป ในขณะเดียวกันนี้เอง ที่ด้านบนของลูกสูบ ก็จะพ้นช่องใหลเข้าของไอดีที่มาจากห้องเพลาข้อเหวี่ยง เข้าไปแทนที่



สรุป
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ จะใช้วาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย เป็นกลไกในการระบายอากาศ ส่วนเครื่องยนต์ 2 จังหวะ จะใช้การออกแบบให้ผนังกระบอกสูบ มีช่องที่สามารถให้อากาศผ่าน เข้าและออกได้ แต่การดูดอากาศเข้าหรือ คายอากาศออก เกิดจากการ ขึ้นลงของลูกสูบ

ความสำคัญของวาล์ว (Valve)




เทคโนโลยี่เครื่องยนต์ ถูกพัฒนาไปตามลำดับ เครื่องยนต์ประเภท 4 จังหวะ ถูกพัฒนาให้มีกลไก การถ่ายเทอากาศ ผ่านทางวาล์วไอดี และไอเสีย ถ้าวาล์วไอดีเปิด อากาศใหลเข้า แต่ถ้าวาล์วไอเสียเปิด อากาศจะใหลออก ตัวที่ควบคุมให้วาล์ว ปิดหรือเปิด คือ แคมชาร์ป (Cam shaft) หรือเพลาลูกเบี้ยวนั่นเอง


วาล์ว (Valve) และส่วนประกอบของวาล์ว




แคมชาร์ป (Camshaft)






อย่าจำสับสนระหว่าง เพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) คือเพลาที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดการเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ของลูกสูบ ผ่านทางก้านสูบ และยืดหมุนได้กับเพลาข้อเหวี่ยงนี้ แต่เพลาลูกเบี้ยว (Cam shaft) เป็นเพลาที่มีลูกเบี้ยว ติดอยู่ตามแกนของเพลา ทำหน้าที่ควบคุมการเปิด หรือปิดของวาล์วไอดี หรือไอเสีย

เพลาลูกเบี้ยวนี้ จะหมุนได้ โดยได้รับการถ่ายทอดกำลัง มาจากเพลาข้อเหวี่ยงอีกที โดยผ่านตัวกลางต่างๆ เช่น สายพานไทม์มิ่ง โซ่ไทม์มิ่ง หรือเฟืองไทม์มิ่ง เป็นต้น แล้วแต่การออกแบบ เครื่องยนต์แต่ละรุ่น

สายพานไทม์มิ่ง (Timing Belt)
















โซ่ไทม์มิ่ง (Timing Chain)
เฟืองไทม์มิ่ง (Timing Gear)




การพัฒนาเครื่องยนต์ มุ่งให้ความสำคัญ กับวาล์วมากขึ้น เห็นได้จาก การมีวาล์เพิ่มมากขึ้นเช่นเครื่องยนต์ 12 วาล์ว, เครื่องยนต์ 16 วาล์ว, เครื่องยนต์ 24 วาล์ว เป็นต้น การที่มีวาล์วเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้อากาศไหลเข้า ไหลออกได้คล่องตัวมากขึ้น เช่นเครื่องยนต์ 4 สูบ 12 วาล์ว กับเครื่องยนต์ 4 สูบ 16 วาล์ว จะเห็นได้ว่า เครื่องยนต์ 16 วาล์ว มีวาล์วอยู่ 4 ตัวต่อ 1 สูบ (4 สูบ x 4 วาล์ว = 16 วาล์ว) ก็สามารถมีการถ่ายเทของอากาศได้มากกว่า เครื่อง 4 สูบ 12 วาล์ว ในสภาพแวดล้อมของอุปกรณ์ต่างๆ เหมือนๆ กัน

ตัวควบคุมการทำงานของวาล์ว หรือ เพลาลูกเบี้ยว (Cam shaft) ได้รับการพัฒนาไปตามลำดับ เครื่องยนต์รุ่นเก่าหน่อย ก็จะมีเพลาลูกเบี้ยวอยู่ภายในห้องเพลาข้อเหวี่ยงด้วย และควบคุมการเปิดปิดวาล์ว (ส่งกำลังการเปิดปิดวาล์ว) ผ่านไปทางก้านกระทุ้ง เพื่อควบคุมวาล์ว

แสดงการทำงานของเพลาลูกเบี้ยว





เครื่องยนต์รุ่นใหม่ ถูกออกแบบให้มีเพลาลูกเบี้ยวอยู่เหนือ กระบอกสูบ (Over Head Camshaft หรือ OHC) ทำให้ควบคุมการเปิดปิดวาล์วได้ดียิ่งขึ้น สังเกตได้จากการโฆษณาตามสื่อต่างๆ ถึงตัวย่อที่ผ่านตาบ่อยๆ เช่น SOHC = Single Over Head Camshaft คือการที่มีแกนเพลาลูกเบี้ยวเพียงแกนเดียวอยู่เหนือกระบอกสูบ ส่วน DOHC = Double Over Head Camshaft คือมีแกนเพลาลูกเบี้ยว 2 แกน อยู่เหนือกระบอกสูบ ทำงานประสานกัน โดยแกนที่หนึ่งควบคุม การเปิดปิดวาล์วไอดี และแกนที่ 2 ควบคุมการเปิดปิดวาล์วไอเสีย แต่ผู้ผลิตรถยนต์บางราย อาจใช้คำแตกต่างกันไป จาก DOHC เช่นใช้คำว่า Twin Cam เป็นต้น













สตาร์ทไม่ติด

เมื่อคุณตื่นขึ้นมาในตอนเช้า จะรีบไปทำงาน เปิดประตู ใส่กุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ อ้าวปรากฎว่าไม่ติด มันเกิดอะไรขึ้น ขณะนี้คุณทราบแล้วว่าเครื่องยนต์มีหลักการทำงานอย่างไร ขอให้พึงตะหนักว่า มีเพียง 3 ส่วนหลักที่ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด คือ ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถูกต้อง อากาศไม่ถูกอัด และ ไม่มีการเผาไหม้ภายในลูกสูบ นอกจากนี้แล้ว เป็นปัญหาเล็กๆน้อยๆ แก้ไขได้ ต่อไปเป็นการอธิบายปัญหาหลักที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด

ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถูกต้อง เกิดขึ้นจาก

* น้ำมันหมด จึงมีแต่อากาศไหลเข้าไปในกระบอกสูบ แก้ได้ง่ายมากคือไปเติมน้ำมันซิครับ
* ระบบดูดอากาศเกิดการอุดตัน มีแต่น้ำมันไหลเข้าไม่มีอากาศ
* ระบบฉีดน้ำมันมีปัญหา เช่น ฉีดมากไปน้อยไป ทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
* น้ำมันสกปรก หรือมีน้ำผสม ทำให้ไม่มีการเผาไหม้

อากาศไม่ถูกอัด ถ้าน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถูกอัด การเผาไหม้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจาก

* แหวนลูกสูบหลวม ทำให้เชื้อเพลิงรั่ว ออกจากกระบอกขณะที่อยู่ในจังหวะอัด
* วาวล์ไอดีและไอเสียปิดไม่สนิท เกิดการรั่วขึ้นได้ในจังหวะอัด
* มีรอยร้าวในกระบอกสูบ

ไม่มีการเผาไหม้ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ

* หัวเทียนบอด
* สายไฟต่อกับหัวเทียนขาดหรือรั่วลงดิน
* การสปาร์คของหัวเทียนเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจังหวะระเบิด ทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เครื่องกระตุกและไม่ติด

สาเหตุอื่นๆ

อาจมีสาเหตุอื่นอีก แต่ไม่ใช่สาเหตุหลัก ดังเช่น

* แบตเตอรี่หมด เชื่อเถอะครับ สตาร์ทอย่างไรก็ไม่ติด
* ลูกปืนของเพลาข้อเหวี่ยงฝืด
* วาวล์ไอดี และไอเสีย เปิดปิดไม่เป็นไปตามจังหวะเวลา
* ช่องทางไอเสียอุดตัน เชื้อเพลิงที่เผาไหม้แล้วไม่สามารถถ่ายเทออกมาได้
* น้ำมันเครื่องหมด

ยังมีหลายระบบภายในเครื่องยนต์ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง แต่ละระบบมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยเสริม เรามาดูระบบเหล่านี้กันในหน้าถัดไป



credit :: http://www.supradit.com

Read More

ระบบบังคับเลี้ยว





ชุดเฟืองบังคับเลี้ยวหลวมหรือคลอนมากเกินไป
1. ชุดปลายคันชักคันส่งสึก หลวม หรือชำรุด: ขันให้แน่น หรือเปลี่ยนชุดปลายคันชักคันส่งที่ชำรุด
2. ส่วนประกอบชุดเฟืองบังคับเลี้ยวในชุดต่อขวางหลวม: ตรวจหาการชำรุดและขันสลักเกลียวยึดเฟืองบังคับเลี้ยวให้แน่น
3. เฟือง rack และ pinion ของระบบบังคับเลี้ยวชำรุด: ซ่อมชุดเฟืองบังคับเลี้ยว
4. ข้อต่ออ่อนระบบบังคับเลี้ยว ชำรุด สึก หรือหลวม: ตรวจ ขันให้แน่น หรือเปลี่ยนข้อต่ออ่อนใหม่
5. บู๊ชยางคันชักคันส่งหลวมหรือชำรุด: ขันให้แน่นหรือเปลี่ยนบู๊ชยางที่ชำรุด
6. แกนพวงมาลัยหลวม: ตรวจหาจุดที่เฟืองชำรุดหรือสึก ขันนอตพวงมาลัยตามแรงที่กำหนด (22 Nm)
หมายเหตุ: ตรวจความหลวมคลอนของการเชื่อมต่อบังคับเลี้ยวโดยให้น้ำหนักรถอยู่ที่ล้อหน้าแล้วให้ผู้ช่วยหมุนพวงมาลัยไปมา ทำการตรวจการชำรุด ถ้าเป็นที่ rack และ pinion ทำการซ่อมชุด rack และ pinion
พวงมาลัยหนัก
1. ความดันลมยางต่ำหรือไม่เท่ากัน: ตรวจและเติมลมยางตามที่กำหนด
2. ระบบรับแรงสะเทือนหลวมคลอนหรือการปรับตั้งระยะต่างๆ ไม่ได้ศูนย์: ตรวจการหลวมคลอนของระบบรับแรงสะเทือนหน้า เปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดและปรับตั้งระยะต่างๆ ให้ได้ศูนย์ใหม่
3. ระดับน้ำมันในกระปุกน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ต่ำ: ตรวจการรั่วไหล ซ่อมและ/หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดใหม่ เติมน้ำมันให้เต็ม
4. การหล่อลื่นไม่เพียงพอในระบบพวงมาลัยธรรมดา: ตรวจการรั่วไหลของหล่อลื่นและซ่อมถ้าชำรุด
5. ชุดแกนพวงมาลัยหรือข้อต่ออ่อนระบบบังคับเลี้ยวไม่ได้แนว: ตรวจและปรับชุดแกนพวงมาลัยและข้อต่ออ่อน
6. แรงดันปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์ไม่เพียงพอ: ตรวจความตึงของสายพานปั๊ม เปลี่ยนปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์ใหม่ถ้าชำรุด
7. ปรับชุดเฟืองบังคับเลี้ยวไม่ถูกต้อง: ถอดชุดเฟืองบังคับเลี้ยวและปรับ
หมายเหตุ: ตรวจดูว่ายางหน้าทั้งคู่มีดอกยางเพียงพอและมีแรงดันลมยางถูกต้อง ตรวจการชำรุดของส่วนประกอบระบบรับแรงสะเทือนหน้าก่อนตรวจการตั้งระยะและมุมของระบบบังคับเลี้ยว โดยดูบทรับแรงสะเทือนหน้าสำหรับขั้นตอนการตรวจ
พวงมาลัยดึงไปข้างใดข้างหนึ่ง
1. ความดันลมยางหรือยางสึกไม่เท่ากัน: เติมลมยางตามความดันที่กำหนด และตรวจสภาพของยาง
2. ช่วงล่างล้อหน้าชำรุดหรือการปรับตั้งระยะต่างๆ ไม่ได้ศูนย์: ตรวจการชำรุดของชุดรับแรงสะเทือน เปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุด แล้วตั้งศูนย์ใหม่
3. เบรกติด: ตรวจเบรก
4. ช่วงล่างหลังชำรุดหรือไม่ได้ศูนย์: ตรวจช่วงล่างหาการชำรุดและเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดใหม่
5. ชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพาเวอร์ชำรุด: ซ่อมชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพาเวอร์
หมายเหตุ: ถ้าได้ตรวจสภาพยางและศูนย์ล้อหน้าและหลังว่าถูกต้องแล้ว ยกหน้ารถและท้ายรถแล้วหมุนล้อเพื่อตรวจการติดของเบรก
ล้อหน้าส่ายหรือสั่น
1. ล้อหรือยางไม่สมดุล: ตรวจและตั้งศูนย์ตามจำเป็น
2. ตลับลูกปืนดุมล้อหน้าสึกหรือหลวม: เปลี่ยนตลับลูกปืนดุมล้อหน้า
3. ชุดรับแรงสะเทือนชำรุด: ตรวจและเปลี่ยนชุดรับแรงสะเทือนใหม่ ควรเปลี่ยนเป็นคู่
4. ชุดปลายคันชักคันส่งหลวมหรือชำรุด: ตรวจและขันให้แน่น หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดใหม่
5. ชุดเฟืองบังคับเลี้ยวชำรุด/หลวม: ปรับหรือซ่อมชุดเฟืองบังคับเลี้ยว
หมายเหตุ:ตรวจการเชื่อมต่อระบบบังคับเลี้ยวตามที่กล่าวไปแล้ว และตรวจการชำรุดของระบบรับแรงสะเทือนหน้าตามที่กล่าวในบทระบบรับแรงสะเทือนหน้า โดยปกติล้อส่ายหรือสั่นมักเกิดจากล้อและ/หรือยางไม่สมดุลถ้าระบบบังคับเลี้ยวและระบบรับแรงสะเทือนหน้าอยู่ในสภาพใช้การได้
พวงมาลัยสั่นหรือไม่นิ่ง
1. ระบบช่วงล่างล้อหน้าชำรุดหรือไม่ได้แนว: ตรวจการชำรุดของระบบรับแรงสะเทือนหน้า เปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดและตั้งศูนย์ใหม่
2. ยางหน้าสึก: ตรวจและเปลี่ยนยางใหม่ตามจำเป็น
3. ชุดการเชื่อมต่อหรือเฟืองบังคับเลี้ยวหลวมมากเกินไป: ตรวจและปรับ หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดใหม่
4. ลมยางมากหรือน้อยเกินไป: ตรวจและเติมลมยางตามที่กำหนด
หมายเหตุ: ตรวจชุดเชื่อมต่อการบังคับเลี้ยวตามที่กล่าวไปแล้ว และตรวจการชำรุดของชุดรับแรงสะเทือนหน้าตามที่กล่าวในบทระบบรับแรงสะเทือนหน้า
ชุดเฟืองบังคับเลี้ยวมีเสียงดัง
1. ปรับชุดเฟืองบังคับเลี้ยวไม่ถูกต้อง: ถอดชุดเฟืองบังคับเลี้ยวแล้วปรับ
2. ตลับลูกปืนแกนพวงมาลัยสึกหรือหลวม: เปลี่ยนตลับลูกปืนตามจำเป็น
3. บู๊ชคันชักคันส่งสึก: เปลี่ยนบู๊ชคันชักคันส่งที่สึกใหม่
4. การหล่อลื่นในชุดเฟืองบังคับเลี้ยวไม่เพียงพอ: ตรวจการรั่วไหลของหล่อลื่นและซ่อมถ้าชำรุด
ไม่มีแรงเพาเวอร์ช่วย
1. สายพานปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์หลวมหรือขาด: ปรับหรือเปลี่ยนสายพานใหม่
2. ระดับน้ำมันในกระปุกน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ต่ำ: ตรวจการรั่วไหล ซ่อมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุด เติมน้ำมันให้เต็ม
3. แรงดันปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์ไม่เพียงพอ: ซ่อมปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์
4. ชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพาเวอร์ชำรุด: ซ่อมชุดเฟืองบังคับเลี้ยว
2. ลักษณะทั่วไป
ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์เป็นแบบ rack และ pinion อัตราทดคงที่ร่วมกับ torsion bar และ rotary control valve และ spool เพื่อบังคับและควบคุมแรงดันน้ำมันไฮโดรลิคไปที่ด้านที่เหมาะสมของลูกสูบเพาเวอร์ ลูกสูบเพาเวอร์ทำงานอยู่ในกระบอกสูบซึ่งอยู่ร่วมกับท่อ rack
ปั๊มซึ่งถูกขับเคลื่อนด้วยสายพานตัว V จากเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ทำให้เกิดแรงดันน้ำมันไฮโดรลิคต่ออุปกรณ์ของชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพาเวอร์ กระปุกน้ำมันไฮโดรลิคอยู่ที่แผงกันโคลนด้านในซ้ายหลังหม้อพักน้ำระบายความร้อนเครื่องยนต์
ระบบพวงมาลัยไม่ต้องมีการหล่อลื่นในการปรนนิบัติบำรุง และในกรณีที่สูญเสียแรงช่วยในการบังคับเลี้ยวจากระบบเพาเวอร์ ระบบบังคับเลี้ยวก็จะสามารถทำงานได้แต่ต้องใช้แรงมาก แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปั๊มและชุดเฟืองบังคับเลี้ยวจะได้รับการหล่อลื่นด้วยน้ำมันเพาเวอร์พวงมาลัย จึงต้องหาสาเหตุที่น้ำมันเพาเวอร์รั่วไหลและซ่อมโดยทันทีเพื่อป้องกันปั๊มระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ชำรุด และลดผลกระทบต่อชุดเฟืองบังคับเลี้ยว
คันชักคันส่งยึดติดปลายข้างหนึ่งกับ rack ด้วยสลักเกลียวผ่านบู๊ชยาง และติดกับแขนบังคับเลี้ยวด้วยชุดปลายคันชักคันส่งแบบมีการซีลที่ปลายอีกข้างหนึ่ง
ชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพาเวอร์จะได้รับการป้องกันฝุ่นและน้ำเข้าด้วยซีลที่แกน pinion และด้วยบู๊ทแบบหีบเพลงรัดด้วยคลิ๊บเข้ากับตัวชุดเฟืองบังคับเลี้ยวและปลอกหุ้มกลาง
แกนพวงมาลัยยึดต่อชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพาเวอร์ด้วยข้อต่ออ่อนและได้รับการออกแบบให้ดูดซับแรงกระแทกจากการชนตรงหน้าอย่างรุนแรง
3. การตรวจและการทดสอบขั้นต้น
ถ้าระบบพวงมาลัยเพาเวอร์บางส่วนหรือทั้งหมดไม่ทำงาน ต้องทำการตรวจขั้นต้นและทดสอบตามลำดับก่อนแก้ไขหรือซ่อม
สายพานปั๊ม
ตรวจการแตก เป็นมันลื่น และฉีกขาดของสายพานปั๊ม ถ้าพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เปลี่ยนใช้สายพานใหม่ตามที่กำหนดหรือใช้ของแท้เท่านั้น ถ้าสายพานหย่อนแต่ยังใช้งานได้ ให้ปรับตามที่กล่าวไว้ในการซ่อมขั้นต้นและการปรับ
หมายเหตุ: ส่วนมาก ถ้าสายพานหย่อน จะได้ยินเสียงหวีดแหลมเมื่อปั๊มทำงานขณะหมุนพวงมาลัย โดยเฉพาะเมื่อหักเลี้ยวสุดหรือเมื่อเร่งเครื่องโดยทันที
การตรวจน้ำมันไฮโดรลิค
ตรวจระดับน้ำมันในกระปุกน้ำมันที่อุณหภูมิใช้งาน ระดับน้ำมันควรอยู่ระหว่างขีดสูงสุดกับต่ำสุดที่กระปุกน้ำมัน อุณหภูมิใช้งานของรถคือเมื่อใช้งานรถมากกว่า 20 นาที
1. รถต้องได้ระดับ ตรวจระดับน้ำมันที่กระปุกน้ำมัน
2. ถ้าระดับน้ำมันต่ำ ทำความสะอาดรอบฝากระปุกน้ำมันแล้วถอดฝากระปุก
3. เติมให้เต็มด้วยน้ำมันที่กำหนดตามบทการปรนนิบัติบำรุงและการหล่อลื่น อย่าเติมเกิน
4. ถ้ากระปุกน้ำมันแห้ง ต้องไล่น้ำมันในระบบตามที่กำหนดในการซ่อมเล็กน้อยและการปรับรถยนต์
5. อย่าปิดฝากระปุกน้ำมันแน่นเกินไปเพื่อป้องกันซีลเสียหาย
การตรวจการรั่วไหลของน้ำมัน
1. ใช้น้ำยาหรือน้ำมันทำความสะอาดรอบชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพาเวอร์และรอยต่อท่อต่างๆ ที่อาจมีการรั่วไหลแล้วติดเครื่องยนต์
2. หมุนพวงมาลัยไปซ้ายขวาให้สุดหลายๆ ครั้ง จากนั้นค่อยๆ หมุนให้สุดแล้วดับเครื่อง
3. ตรวจหาการรั่วไหล ถ้าพบที่ท่อยาง ขันให้แน่นแล้วตรวจอีกครั้ง ถ้าเป็นที่ปั๊มระบบบังคับเลี้ยว ต้องให้ช่างผู้ชำนาญดู
4. การซ่อมเล็กน้อยและการปรับในรถ
ความตึงของสายพานปั๊ม
(รุ่นที่มีเครื่องปรับอากาศ)
1. ตรวจความตึงของสายพานตามที่กล่าวในบทการปรับเครื่องยนต์
2. ถ้าจำเป็น ปรับสายพานดังนี้
. คลายนอตและสลักเกลียวตัวปรับและจุดหมุนยึดคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ
. ใช้คานขนาดที่เหมาะสมงัดคอมเพรสเซอร์ออกจนสายพานเส้นหนึ่งตึงพอดี
หมายเหตุ: อย่างัดโดยตรงที่ตัวปั๊มระบบบังคับเลี้ยวเพาเวอร์หรือคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ ให้งัดตรงขาติดตั้งคอมเพรสเซอร์
. ขันนอตและสลักเกลียวจุดหมุนยึด และนอตและสลักเกลียวตัวปรับให้แน่น
. ตรวจความตึงของสายพานอีกเส้น ถ้าความตึงระหว่างสายพานทั้งสองเส้นต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ต้องเปลี่ยนสายพานทั้งสองเส้นโดยใช้สายพานตามที่กำหนด
. ถ้าใส่สายพานเส้นใหม่ ติดเครื่องยนต์ 10 นาที แล้วตรวจความตึงของสายพานอีกครั้ง
การไล่อากาศในระบบ
1. ตรวจระดับน้ำมัน ถ้าจำเป็นเติมน้ำมันตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
2. ยกหน้ารถให้ล้อพ้นพื้นแล้วหนุนด้วยขาตั้ง
3. โดยไม่ต้องติดเครื่องยนต์ หมุนพวงมาลัยซ้ายขวาจนสุดหลายๆ ครั้ง เติมน้ำมันตามจำเป็น ทำซ้ำจนระดับน้ำมันคงที่
4. ติดเครื่องยนต์ ขณะเครื่องยนต์เดินเบา หมุนพวงมาลัยซ้ายขวาจนสุดหลายๆ ครั้ง จากนั้นค่อยๆ หมุนจนสุด
5. เมื่อไม่มีฟองอากาศให้เห็นในกระปุกน้ำมันและระดับน้ำมันคงที่ แสดงว่าไล่อากาศในระบบเรียบร้อย
6. หมุนพวงมาลัยให้ล้อตรง ดับเครื่องยนต์และลดรถลงพื้น
การถอดกระปุกน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์
1. ถอดขั้วลบของแบตเตอรี่
2. วางถังรองน้ำมันใต้กระปุกน้ำมันแล้วคลายคลิ๊บรัดท่อทั้งสองตัว
3. ถอดท่อตัวล่างแล้วปล่อยน้ำมันไหลลงถัง ถอดท่อที่เหลือ
อุดท่อทั้งสองเพื่อไม่ให้น้ำมันไหลออกและป้องกันฝุ่นผงเข้า
4. ถอดสลักเกลียวตัวรัดกระปุกน้ำมันและสลักเกลียวยึดหม้อพักน้ำระบายความร้อน และตัวรัดกระปุกน้ำมันเข้ากับแผงกันโคลนด้านใน แล้วถอดตัวรัด ถอดกระปุกน้ำมันออก
การใส่ ทำกลับกันโดยระมัดระวังในจุดต่อไปนี้:
เติมน้ำมันในกระปุกและไล่อากาศในระบบตามที่กล่าวไว้ข้างต้นโดยใช้น้ำมันตามที่กำหนด
การถอดท่อน้ำมันระบบพวงมาลัยเพาเวอร์
1. วางถังรองน้ำมันใต้กระปุกน้ำมัน
2. คลายคลิ๊บรัดท่อน้ำมันความดันต่ำ (ท่อล่าง) เข้ากับกระปุกน้ำมัน ถอดท่อและถ่ายน้ำมันออกจากกระปุก
3. ถอดคลิ๊บรัดท่อความดันต่ำและสูงเข้าด้วยกันใต้หม้อพักน้ำระบายความร้อน
4. ถอดท่อความดันสูงออกจากปั๊ม
5. คลายคลิ๊บรัดท่อความดันต่ำเข้ากับปั๊ม แล้วถอดท่อออก
6. ค่อยๆ ถอดท่อออกจากตัวรับบริเวณปั๊มหลังเครื่องยนต์และห้องเกียร์ แล้วถอดท่อความดันต่ำออกจากห้องเครื่องยนต์
7. ถอดคลิ๊บยึดส่วนที่เป็นโลหะของท่อความดันสูงและท่อน้ำมันไหลกลับเข้ากับท่อน้ำมันบนชุดเฟืองบังคับเลี้ยว
8. ถอดข้อต่อยึดส่วนที่เป็นโลหะของท่อความดันสูงและท่อน้ำมันไหลกลับ แล้วถอดท่อความดันสูงออกจากห้องเครื่องยนต์
9. ถอดคลิ๊บรัดท่อน้ำมันไหลกลับเข้ากับกระปุกน้ำมัน แล้วถอดท่อน้ำมันไหลกลับออกจากห้องเครื่องยนต์
การใส่ ทำกลับกันโดยเพิ่มเติมในจุดต่อไปนี้
1. ใช้ O-ring ใหม่ระหว่างจุดต่อท่อความดันสูงกับปั๊มระบบพวงมาลัยเพาเวอร์
2. ใช้น้ำมันใหม่ตามที่กำหนดและไล่อากาศในระบบตามที่กล่าวข้างต้น
5. ปั๊มระบบพวงมาลัยเพาเวอร์
การซ่อมใหญ่ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ต้องใช้เครื่องมือและความรู้เฉพาะ ไม่เหมาะกับผู้ที่ไม่ชำนาญอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ถ้าจะถอดปั๊มระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ไปให้ช่างซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ทั้งชุด สามารถทำการถอดและใส่ได้ดังต่อไปนี้
การถอดและใส่ (รุ่นที่มีเครื่องปรับอากาศ)
1. ถอดขั้วลบของแบตเตอรี่
2. ยกหน้ารถขึ้น หนุนด้วยขาตั้ง
3. คลายนอตและสลักเกลียวจุดหมุนยึดคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ และนอตและสลักเกลียวตัวปรับ
4. ขยับคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศเข้าและถอดสายพานออกจากรอก จากนั้นขยับคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศออกจนพ้นปั๊มระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ถ้าจำเป็น ผูกคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศไปข้างหลังด้วยลวดหรือสายรัดที่เหมาะสม
5. วางถังรองใต้ปั๊มระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แล้วถอดท่อทั้งสองท่อออก อุดท่อทั้งสองเพื่อไม่ให้น้ำมันไหลออกและฝุ่นผงเข้า
6. ถอดสลักเกลียว 3 ตัวที่ยึดปั๊มเข้ากับแท่นรับแล้วดึงปั๊มลงให้ออกจากแท่นรับ
หมายเหตุ: ถอดสลักเกลียวยึดปั๊มตัวหน้าบนผ่านรูที่รอกปั๊ม
การใส่ ทำกลับกันโดยระมัดระวังในจุดต่อไปนี้
1. ใช้ O-ring ใหม่ตรงจุดที่ต่อท่อความดันสูงกับปั๊ม
2. ใช้ O-ring ใหม่ตรงจุดที่ต่อท่อความดันสูงกับปั๊มระบบพวงมาลัยเพาเวอร์
3. ปรับสายพานตามที่กล่าวไว้ในการซ่อมเล็กน้อยและการปรับรถยนต์
6. ชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพาเวอร์
เครื่องมือเฉพาะที่ใช้
การถอดข้อต่อท่อน้ำมัน เครื่องมือจับที่เหมาะสม
การใส่ซีล holder assemblyเครื่องมือเปลี่ยนซีลที่เหมาะสม
การเปลี่ยนท่อยางหุ้มกันฝุ่น
รุ่นพวงมาลัยธรรมดา
1. ถอดคันชักคันส่งตามที่กล่าวในหัวข้อการเชื่อมต่อระบบบังคับเลี้ยว
2. ใช้คีมที่เหมาะสมถอดคลิ๊บยึดท่อยางกันฝุ่นออกจากปลายนอกของท่อยางกันฝุ่นทั้ง 2 ตัว
3. ถอดนอตยึดเหล็กคีบตัวซ้ายของชุดเฟืองบังคับเลี้ยวแล้วถอดเหล็กคีบและแท่นยางติดตั้งออก
4. กดปลายทั้งสองของปลอกหุ้มตัวกลางเป็นมุม 90° กับรูต่อคันชักคันส่ง เลื่อนปลอกหุ้มและท่อยางกันฝุ่นออกจากด้านซ้ายของตัวชุดเฟืองบังคับเลี้ยว
5. ใส่สลักเกลียวยึดคันชักคันส่งชั่วคราวเพื่อป้องกันบู๊ช rack เคลื่อนออกจากตำแหน่งบนชุด rack
6. ถอดคลิ๊บรัดท่อยางกันฝุ่นเข้ากับปลอกหุ้มตัวกลาง ถอดท่อยางกันฝุ่นออก
การใส่ ทำกลับกันโดยระมัดระวังในจุดต่อไปนี้
1. spacer ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในปลอกหุ้มตัวกลาง
2. ใส่ปลายด้านที่ใหญ่กว่าของท่อยางกันฝุ่นทั้ง 2 ตัวครอบแต่ละปลายของปลอกหุ้มตัวกลางแล้วใส่คลิ๊บรัดตัวใหม่ ขันคลิ๊บให้แน่นแต่อย่าแน่นเกินเพื่อไมให้ปลอกหุ้มตัวกลางบิดเบี้ยวเสียรูป
3. เลื่อนชุดท่อยางกันฝุ่นและปลอกหุ้มตัวกลางครอบ rack ใส่ท่อยางกันฝุ่นด้านขวาเข้ากับตัวท่อชุดเฟืองบังคับเลี้ยวแล้วรัดท่อยางกันฝุ่นด้วย คลิ๊บรัดตัวใหม่
4. ใส่แท่นยางติดตั้งตัวซ้ายเข้ากับชุดเฟืองบังคับเลี้ยวแล้วใส่เหล็กคีบกับนอต ขันนอตตามแรงที่กำหนด
5. ตั้งระยะที่ปลายด้านซ้ายของท่อยางกันฝุ่น 50 มม. จากปลายของชุดเฟืองบังคับเลี้ยว ยึดด้วยคลิ๊บรัดตัวใหม่
6. ใส่สลักเกลียวยึดคันชักคันส่งผ่านแผ่นเหล็กพับล๊อค เหล็กประกับ และบู๊ชคันชักคันส่ง ขันสลักเกลียวยึดตามแรงที่กำหนด พับเหล็กพับล๊อคทับหัวสลักเกลียว
การเปลี่ยนท่อยางหุ้มกันฝุ่น
รุ่นพวงมาลัยเพาเวอร์
การถอดและการใส่เหมือนกับระบบบังคับเลี้ยวธรรมดา แต่เพิ่มเติมในจุดต่อไปนี้
1. ถอดข้อต่อ 2 ตัวที่ยึดท่อน้ำมันที่ตัวชุด rack เข้ากับชุดวาวล์ควบคุม
2. ถอดข้อต่อ 2 ตัวที่ยึดท่อน้ำมันเข้าที่ด้านซ้ายของชุดเฟืองบังคับเลี้ยวแล้วถอดท่อน้ำมัน
3. เมื่อใส่เสร็จ เติมน้ำมันใหม่ตามชนิดที่กำหนดให้เต็ม แล้วไล่อากาศในระบบตามที่กล่าวไปแล้ว
การถอดและการใส่
รุ่นพวงมาลัยธรรมดา
1. ถอดขั้วลบของแบตเตอรี่
2. ถ้าจำเป็น เพื่อให้สามารถเข้าถึงชุดบังคับเลี้ยวได้ ถอดท่ออากาศระหว่างหม้อกรองอากาศกับตัวเรือนลิ้นปีกผีเสื้อ
3. จากในตัวรถ ถอดแผงกั้นตัวล่างจากด้านบนของคันเหยียบเบรก
4. ถอดสลักเกลียวยึดบู๊ทหุ้มแกนพวงมาลัยกับฝากั้นห้องเครื่องยนต์ เลื่อนแหวนยึดและบู๊ทยึดถอยหลังเพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อต่ออ่อนของพวงมาลัย
5. ถอดสลักเกลียวขัดตัวล่างของข้อต่ออ่อน
6. ยกหน้ารถและหนุนด้วยขาตั้งตามวิธีที่กล่าวในบทล้อและยาง
7. ถอดสลักผ่าปลาย (ถ้ามี) แล้วถอดนอตยึดปลายคันชักคันส่ง ใช้เครื่องมือดึงเพื่อถอดปลายคันชักคันส่งออกจากแขนบังคับเลี้ยว
8. ทำเครื่องหมายที่ล้อหน้าซ้ายกับดุมล้อเพื่อช่วยในการใส่ให้ถูกตำแหน่งเดิม ถอดล้อออก
9. คลายนอตยึดเหล็กคีบชุดเฟืองบังคับเลี้ยว ถอดเหล็กคีบทั้ง 2 ตัวออก
10. ลดชุดเฟืองบังคับเลี้ยวลงออกจากแผงกั้นห้องเครื่องยนต์ให้พอที่จะถอด pinion shaft ออกจากข้อต่ออ่อนของพวงมาลัย
11. ถอดท่อชุดเฟืองบังคับเลี้ยวผ่านครอบล้อซ้าย
การใส่ ทำกลับกันโดยเพ่งเล็งในจุดต่อไปนี้
1. ให้เครื่องหมายบนคันชักคันส่งตัวขวาตรงกับเครื่องหมายบนท่อชุดเฟืองบังคับ เลี้ยวเพื่อให้ชุดบังคับเลี้ยวได้จุดกึ่งกลาง ถ้าไม่มีเครื่องหมายสามารถทำให้ชุดเฟืองบังคับเลี้ยวได้จุดกึ่งกลางโดยวัด ระยะระหว่างขอบในของครีบใส่ลูกยางติดตั้งด้านขวาของชุดเฟืองบังคับเลี้ยว กับกึ่งกลางของสลักเกลียวยึดคันชักคันส่งตัวขวาเข้ากับชุดเฟืองบังคับเลี้ยว ซึ่งหากได้จุดกึ่งกลางของชุดบังคับเลี้ยว ควรวัดได้ 302 มม.
2. ใส่ท่อชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเข้ากับรถผ่านครอบล้อซ้าย
3. ให้รูสลักเกลียวยึดในข้อต่ออ่อนตรงกับร่องใน pinion shaft ใส่ pinion shaft เข้าในข้อต่ออ่อน แล้วเหล็กคีบชุดเฟืองระบบบังคับเลี้ยวและนอต ขันนอตตามแรงที่กำหนด
4. บู๊ทยางของชุดเฟืองบังคับเลี้ยวต้องเข้าได้พอดีกับแผงกั้นห้องเครื่องยนต์ โดยช่องในบู๊ทตรงกับนอตบังคับ
5. ต่อปลายคันชักคันส่งเข้ากับแขนบังคับเลี้ยว แล้วใส่นอตยึด ขันนอตให้แน่นแล้วใส่สลักผ่าตัวใหม่ (ถ้าใช้)
6. ใส่ล้อหน้าโดยให้เครื่องหมายที่ทำไว้ตอนถอดตรงกัน ขันสลักเกลียวล้อให้แน่น ลดรถลงพื้นแล้วขันสลักเกลียวล้อให้แน่น
7. ใส่สลักเกลียวขัดตัวล่างของข้อต่ออ่อนแล้วขันให้แน่น
8. ใส่แหวนบู๊ทยางของแกนพวงมาลัยแล้วขันสลักเกลียวยึดให้แน่น
9. ต่อขั้วแบตเตอรี่
การถอดและการใส่
รุ่นพวงมาลัยเพาเวอร์
การถอดและการใส่คงเหมือนกับระบบบังคับเลี้ยวธรรมดาแต่ระมัดระวังในจุดต่อไปนี้
1. ถอดข้อต่อยึดส่วนที่เป็นโลหะของท่อความดันสูงและท่อน้ำมันไหลกลับเข้ากับชุดวาวล์ควบคุม
2. ถอดคลิ๊บรัดท่อเข้ากับท่อน้ำมันบนชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพาเวอร์ อุดท่อเพื่อป้องกันน้ำมันไหลออกและฝุ่นผงเข้า
3. เมื่อใส่ เติมน้ำมันใหม่ตามที่กำหนดและไล่อากาศในระบบตามที่กล่าวไว้
การถอดประกอบ
1. ถอดชุดเฟืองบังคับเลี้ยวออกจากรถตามที่กล่าวไปแล้ว ทำความสะอาดผิวนอกของชุดเฟืองบังคับเลี้ยวให้สะอาดด้วยน้ำยาหรือน้ำมัน
2. ใช้ปากกาจับที่มีวัสดุอ่อนนุ่มรองรับจับครีบรับลูกยางติดตั้งที่ปลายด้านขวาเพื่อยึดชุดเฟืองบังคับเลี้ยวขณะถอดซ่อม อย่าคีบจับส่วนที่เป็นท่อโลหะของชุดเฟืองบังคับเลี้ยว เนื่องจากจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผิวนอกของท่อ
3. ใช้ค้อนและลิ่มตอกที่เหมาะสม ตอกเหล็กพับล๊อคออกจากหัวสลักเกลียวยึดคันชักคันส่ง
4. ทำเครื่องหมายระหว่างคันชักคันส่งกับชุดเฟืองบังคับเลี้ยวในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้ประกอบได้ถูกต้อง ถอดสลักเกลียวยึดคันชักคันส่ง เหล็กพับล๊อค และแผ่นเหล็กประกับ ออกจากชุดเฟืองบังคับเลี้ยว ถอดคันชักคันส่งออกจากชุดเฟืองบังคับเลี้ยว
5. ทำเครื่องหมายท่อน้ำมันต่างๆ ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่ปลายท่อชุด rack และชุดวาวล์ควบคุมเพื่อช่วยในการประกอบ
6. วางถังรองน้ำมันใต้ชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพื่อรองน้ำมันที่ไหลออก
7. ใช้เครื่องมือจับที่เหมาะสมบริเวณท่อน้ำมันทั้งสองที่ปลายชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเพื่อไม่ให้กระบอกสูบหมุนขณะถอดข้อต่อบนท่อน้ำมัน
8. ถอดท่อน้ำมันที่ปลายชุดเฟืองบังคับเลี้ยวและชุดวาวล์ควบคุม ถอดท่อน้ำมันออกจากชุดเฟืองระบบบังคับเลี้ยว
9. ใส่สลักเกลียวยึดคันชักคันส่งเข้ากับ rack ตัวหนึ่ง ดึง rack ไปทางปลายด้านวาวล์ควบคุมเพื่อถ่ายน้ำมันออกแล้วถอดสลักเกลียว
10. ถอดฝาปิดกันฝุ่นออกจากปลายด้านวาวล์ควบคุมโดยขยับขึ้นลงขณะดึงออก
11. ถอด O-ring ของฝาปิดกันฝุ่นออกจากท่อชุด rack โดยใช้ไขควงเล็กๆ ที่เหมาะสม
12. ถอดคลิ๊บลวดยึดท่อยางหุ้มชุดระบบเฟืองบังคับเลี้ยวที่ปลายด้านนอก เลื่อนท่อยางหุ้ม rack และท่อออกจากปลายด้านวาวล์ควบคุม แล้วถอดออกจากชุดระบบเฟืองบังคับเลี้ยว
13. ถอดชุด bearing ออกจากท่อชุด rack
14. ถอดนอตล๊อคสกรูปรับแผ่นรอง rack แล้วถอดสกรูปรับ สปริง และแผ่นรองออกจากท่อชุด rack
15. ถอดสลักเกลียวยึดชุดวาวล์ควบคุมเข้ากับท่อชุด rack แล้วคลายวาวล์ควบคุมออกจากท่อชุด rack
16. ถ้ามีเหล็กประกับสกรูปรับ ซึ่งอาจติดอยู่ระหว่างชุดวาวล์ควบคุมกับท่อชุด rack ถอดออกและเก็บไว้
17. ถอดแหวนยึดชุดกระบอกสูบโดยเริ่มจาก feeler strip ใต้แหวนยึด และถอดแหวนยึดออกด้วยไขควงเล็ก
18. ใส่ท่อน้ำมันท่อหนึ่งเข้ากับกระบอกสูบชั่วคราวเพื่อเป็นตัวจับและดึงกระบอกสูบออกจากท่อ rack
19. ถอดชุดลูกสูบ rack ออกจากปลายด้านกระบอกสูบของท่อ rack อาจต้องเคาะ rack เบาๆ จากปลายด้านวาวล์ควบคุมด้วยเหล็กตอกและค้อนที่เหมาะสม ระวังอย่าให้ฟัน rack ทำให้ท่อ rack เสียหายขณะถอด rack
20. จับชุด rack และลูกสูบด้วยปากกาจับโดยมีวัสดุอ่อนนุ่มรองรับที่จุดต่อคันชักคันส่ง
21. จับ rack ด้วยกุญแจปากตายที่พอดีกับส่วนแบนของ rack ถอดนอตยึดลูกสูบเข้ากับ rack ออก
22. ถอดลูกสูบออกจาก rack
23. อย่าทำให้เกิดรอยขูดบนผิว rack แล้วเลื่อนชุดตัว holder ออกจาก rack
การทำความสะอาดและการตรวจ
1. ทำความสะอาดชิ้นส่วนทุกชิ้นด้วยน้ำมันใส
2. ตรวจฟัน rack และผิวการซีลหาการสึก ชำรุด และรอยขูดขีด
3. ตรวจซีล teflon ด้านในของชุดตัว holder หาการสึก ชำรุด และรอยขูดขีด
4. ตรวจลูกสูบและซีลหาการสึก ชำรุด และรอยขูดขีด
5. ตรวจผิวในของท่อ rack หาการสึก ชำรุด และรอยขูดขีด
6. ตรวจผิวในของกระบอกสูบหาการสึก ชำรุด และรอยขูดขีด
7. ตรวจชุดวาวล์ควบคุมและบ่ารับท่อน้ำมัน หาการสึก ชำรุด และรอยขูดขีด
8. ตรวจท่อยางหุ้มกันฝุ่นหาการแตกและชำรุด
9. เปลี่ยนชิ้นส่วนที่สึกหรือชำรุดทั้งหมด ตามจำเป็น
10. การเปลี่ยนซีลชุดตัว holder ทำดังต่อไปนี้
. ถอดซีลในและนอกของชุดตัว holder โดยใช้มีดคม
. ทาซีลตัวในใหม่ให้ทั่วด้วยจาระบี Shell Alvania EP2 แล้วใส่ซีลเข้าโดยใช้เครื่องมือใส่เฉพาะที่เหมาะสม โดยปากขอบซีลต้องหันไปทางชุด holder
. ถอดเครื่องมือใส่ซีลออกแล้วตรวจดูว่าซีลตัวในเข้าที่สนิท
. ทาซีล o-ring ตัวนอกตัวใหม่ด้วยจาระบี Shell Alvania EP2 แล้วใส่ซีลเข้าในร่องบนวงนอกของชุด holder
11. การเปลี่ยนซีลลูกสูบ rack ใหม่
. ถอดซีลออกจากลูกสูบ rack โดยใช้มีดคม
. ยืดซีลตัวใหม่เล็กน้อยแล้วทาด้วยจาระบี Shell Alvania EP2
. ใส่ซีลเข้าในร่องของลูกสูบ
. อัดซีลโดยกดชุดลูกสูบและซีลเข้าด้วยเครื่องอัดที่เหมาะสม
การประกอบ
1. ชโลมซีลทุกตัว O-ring และวาวล์กับแหวนลูกสูบด้วย Dexron IID
2. ใส่เครื่องมือใส่ซีลที่ปลาย rack ของชุดเฟืองบังคับเลี้ยว แล้วใส่เลื่อนชุดตัว holder ไปบน rack ดึงเครื่องมือใส่ซีลออก
3. จับ rack ด้วยปากกาคีบโดยมีวัสดุอ่อนนุ่มรองที่ตำแหน่งต่อคันชักคันส่ง ใส่ชุดลูกสูบเข้ากับ rack
4. ใส่นอตล๊อคตัวเองตัวใหม่เข้ากับ rack แล้วใช้กุญแจปากตายจับ rack ที่ส่วนแบนของ rack ขันนอต 54 Nm
5. ใช้ปากกาจับท่อ rack ที่ปลายตัวรับลูกยางติดตั้งขวามือ
6. ใส่ rack เข้าในท่อ rack ให้เหลือส่วนลูกสูบยื่นไว้
7. ทา O-ring ตัวใหม่ด้วยจาระบี Shell Alvenia EP2 แล้วใส่เข้ากับชุดกระบอกสูบ
8. เลื่อนชุดกระบอกสูบครอบลูกสูบแล้วดันกระบอกสูบเข้าไปในท่อ rack
9. ใส่แหวนยึดกระบอกสูบเข้ากับท่อชุด rack
10. วาง rack ให้อยู่กึ่งกลางในชุดท่อ rack แล้วใส่ชุด bearing เข้ากับ rack
11. ใส่สลักเกลียวยึดคันชักคันส่งเข้ากับ rack ทั้ง 2 ตัว ชั่วคราว และวาง rack ให้ได้กึ่งกลางในตัวท่อ rack โดยวัดระยะจากขอบชุด bearing ถึงขอบหยุด bearing บนปลายเปิดของตัวท่อ rack ทั้ง 2 ด้าน
12. อัดฟันเฟือง pinion และตลับลูกปืนกลมบนชุดวาวล์ควบคุมด้วยจาระบี Shell Alvania EP2
13. ถ้าได้ถอดเหล็กประกับในการถอดประกอบ ใส่กลับเข้าไปในรูบนตัวท่อ rack
14. ทาน้ำยาซีล Three Bond No.1105 บางๆ เข้ากับผิวประกบกันของชุดวาวล์ควบคุมและของตัวท่อ rack
15. จัดให้ rack อยู่ในตำแหน่งได้จุดกึ่งกลาง ใส่ชุดวาวล์ควบคุมเข้าไปในตัวท่อ rack โดยหมุน pinion shaft กลับก่อนใส่เพื่อให้มีการหมุนของ pinion shaft ขณะใส่วาวล์ควบคุมเข้าตำแหน่ง
เพื่อให้สามารถใส่สลักเกลียวตัวรัดข้อต่ออ่อน ต้องให้ช่องเจาะบน pinion shaft ตรงกับแกน rack และติดกับสกรูปรับแผ่นรอง rack เมื่อใส่ชุดวาวล์ควบคุมกับตัวท่อ rack และ rack อยู่ในตำแหน่งที่ได้กึ่งกลาง
16. ใส่สลักเกลียวยึดวาวล์ควบคุม ขันด้วยแรง 25 Nm
17. ทาผิวที่ขัดสีกันของแผ่นรองตัวปรับ rack, สปริง และบ่าสปริงในสกรูปรับด้วยจาระบี Shell Alvania EP2 แล้วใส่แผ่นรอง สปริง และสกรูเข้าในตัวท่อ rack
18. จัดให้ rack อยู่ในตำแหน่งที่ได้จุดกึ่งกลาง ขันสกรูปรับ 7.3 Nm แล้วขันสกรูกลับ ทำซ้ำอีกหลายๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่า rack อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
19. สุดท้ายขันสกรูปรับ 7.3 Nm แล้วขัน สกรูปรับกลับ 30 - 35° เพื่อให้ได้ระยะห่างที่ถูกต้อง
20. ใช้เครื่องมือต่อที่เหมาะสมต่อกุญแจวัดแรงบิดกับ pinion shaft ตรวจสอบดูว่าต้องใช้แรง 0.39 - 13.7 Nm เพื่อหมุน pinion shaft และคงที่ไปตลอดที่หมุนจนสุด ถ้าอ่านค่านอกเหนือจากนี้ ปรับสกรูเพื่อให้ได้ค่าการหมุนที่ถูกต้อง
21. ทำเครื่องหมายระหว่างสกรูปรับกับตัวท่อ rack เพื่อให้แน่ใจว่าสกรูปรับไม่เคลื่อนเมื่อขันนอตล๊อค
22. ทาเกลียวของสกรูปรับด้วยน้ำยาซีล Three Bond No.1102 แล้วใส่และขันนอตล๊อค 67 Nm อย่าให้สกรูปรับเคลื่อน
23. ถอดสลักเกลียวยึดคันชักคันส่งชั่วคราวออกจาก rack เลื่อนชุดท่อยางหุ้มกันฝุ่นและท่อหุ้มครอบตัวท่อ rack
24. วางปลายท่อยางหุ้มกันฝุ่นในร่องของท่อ rack แล้วรัดด้วยลวดรัด
25. ใส่ท่อน้ำมันเข้ากับชุดวาวล์ควบคุมและชุดกระบอกสูบ ให้เครื่องหมายที่ทำไว้ตอนถอดตรงตำแหน่ง
26. ใช้เครื่องมือจับที่เหมาะสมจับท่อน้ำมันที่ปลายชุดกระบอกสูบแล้วขันข้อต่อให้แน่น
27. ขันข้อต่อที่วาวล์ควบคุมให้แน่น
28. ทาซีลฝาปิดกันฝุ่นด้วยจาระบี Shell Alvania EP2 แล้วใส่เข้าในท่อ rack ที่ปลายด้านวาวล์ควบคุม
29. ดันฝาปิดเข้าที่แรงๆ ให้ร่องรับเข้ากับซีลฝาปิดกันฝุ่น
7. ระบบเชื่อมต่อการบังคับเลี้ยว
เครื่องมือเฉพาะ
การถอดคันชักคันส่ง ตัวดูดที่เหมาะสม
การถอดบู๊ชคันชักคันส่งตัวกด, press plate และ spacer
การถอดและการใส่
หมายเหตุ: ขั้นตอนการถอดคันชักคันส่งนี้ใช้ได้กับคันชักคันส่งขวาและซ้าย
1. ยกหน้ารถและหนุนด้วยขาตั้งตามบทล้อและยาง
2. ถอดสลักผ่า (ถ้ามี) ของนอตยึดปลายคันชักคันส่ง ถอดนอตออก
3. ถอดปลายคันชักคันส่งออกจากแขนบังคับเลี้ยวโดยใช้เครื่องมือดึงที่เหมาะสมช่วย
4. ใช้ค้อนและเหล็กตอกที่เหมาะสม ตอกแหวนพับล๊อคถอยออกจากหัวสลักเกลียวยึดคันชักคันส่ง ทำเครื่องหมายระหว่างคันชักคันส่งกับปลายคันชักคันส่งเพื่อให้ประกอบกลับได้ถูกต้องเช่นเดิม
5. ถอดสลักเกลียวยึดคันชักคันส่งที่จะถอด แล้วคลายสลักเกลียวยึดคันชักคันส่งอีกตัวหนึ่ง แล้วเผยอแผ่นเหล็กประกับขึ้น ปลดคันชักคันส่งออกแล้วถอดชุดคันชักคันส่งผ่านครอบโค้งล้อรถ
6. ใส่สลักเกลียวยึดคันชักคันส่งเข้าตำแหน่งชั่วคราวบิดแน่นด้วยมือเพื่อป้องกัน spacer ที่ปลอกหุ้มตรงกลางหลุด
7. คลายสลักเกลียวตัวรัดปลายคันชักคันส่ง แล้วถอดปลายคันชักคันส่งออกจากตัวปรับ บันทึกจำนวนรอบที่หมุนในการคลายเกลียวปลายคันชักคันส่ง
8. ถ้าจำเป็น คลายสลักเกลียวตัวรัดตัวปรับแล้วถอดตัวปรับออกจากคันชักคันส่ง บันทึกจำนวนรอบที่หมุนในการคลายเกลียวตัวปรับ
9. ตรวจคันชักคันส่ง ตัวปรับ และปลายคันชักคันส่งหาการสึกกร่อนและชำรุด โดยเฉพาะบู๊ทปลายคันชักคันส่ง และเปลี่ยนใหม่ถ้าจำเป็น
ถ้าจำเป็น สามารถเปลี่ยนบู๊ชตัวในของคันชักคันส่งโดยใช้ spacer, ตัวกด และแผ่นกดที่เหมาะสม
ต้องใส่บู๊ชตัวใหม่ให้ได้กึ่งกลางในคันชักคันส่งโดยขอบนอกของบู๊ชต้องพอดีกับขอบคันชักคันส่ง
การใส่ ทำกลับกันโดยเพ่งเล็งในจุดต่อไปนี้
1. ตรวจดูว่า spacer ของปลอกหุ้มตัวกลางไม่หลุดจากตำแหน่งในปลอกหุ้ม
2. บิดสลักเกลียวยึดคันชักคันส่งให้แน่นด้วยมือ
3. ใส่ตัวปรับเข้ากับคันชักคันส่ง แล้วใส่ปลายคันชักคันส่งเข้ากับตัวปรับโดยต้องหมุนจำนวนรอบการหมุนเกลียวตามที่บันทึกไว้ในการถอด
4. ใส่ปลายคันชักคันส่งเข้ากับแขนบังคับเลี้ยวแล้วใส่และขันนอตยึดให้แน่น ใส่สลักผ่าตัวใหม่ (ถ้าใช้) เพื่อป้องกันนอตหลุดระหว่างใช้งาน
5. ลดรถลงพื้น
6. โดยที่น้ำหนักรถกดบนล้อ ขันสลักเกลียวยึดคันชักคันส่งตามที่กำหนด พับเหล็กพับล๊อคกับหัวสลักเกลียวยึด
7. ตรวจสอบ ถ้าจำเป็นปรับ toe in/out ล้อหน้าตามที่กล่าวไว้ในเรื่องมุมเครื่องรับแรงสะเทือนและระบบบังคับเลี้ยวในบทเครื่องรับแรงสะเทือนล้อหน้า
8. ขันสลักเกลียวตัวรัดตัวปรับและสลักเกลียวตัวรัดปลายคันชักคันส่งให้แน่น
8. ชุดแกนพวงมาลัย
เครื่องมือเฉพาะที่ใช้
การถอดพวงมาลัย ตัวดูดพวงมาลัยที่เหมาะสม
การถอดและการใส่
1. ถอดขั้วลบของแบตเตอรี่ออก
2. ตั้งพวงมาลัยให้อยู่ในตำแหน่งล้อตรง
3. จากในตัวรถ ถอดแผงกั้นตัวล่างออกจากบริเวณเหนือคันเหยียบเบรก
4. ถอดสกรูยึดครอบแกนพวงมาลัยตัวล่างกลาง ถอดท่อแล้วถอดครอบตัวล่างออกจากแผงหน้าปัด
5. ถอดสลักเกลียวยึดแหวนยึดบู๊ทแกนพวงมาลัยเข้ากับแผงกั้นห้องเครื่องยนต์
6. เลื่อนแหวนยึดและบู๊ทถอยหลังเพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อต่ออ่อนของพวงมาลัยได้
7. ถอดสลักเกลียวยึดตัวบนของข้อต่ออ่อน
8. ถอดขั้วต่อสายไฟสวิทส์ติดเครื่องยนต์และสวิทส์ไฟรวม
9. ถอดสลักเกลียวยึดแผงยึดแกนพวงมาลัยตัวล่างที่ด้านซ้ายของแกนพวงมาลัย
10. หาวัสดุหนุนแกนพวงมาลัยไว้แล้วถอดสลักเกลียว 2 ตัวที่ยึดแกนพวงมาลัยด้านบนเข้ากับแผงหน้าปัด
11. เลื่อนแกนพวงมาลัยถอยหลังให้หลุดจากข้อต่ออ่อนแล้วถอดแกนพวงมาลัยออกจากรถ

การใส่ ทำกลับกันโดยเพิ่มเติมในจุดต่อไปนี้
1. อย่าให้ชุดระบบเฟืองบังคับเลี้ยวเคลื่อนและยังคงอยู่ในตำแน่งล้อหน้าตรง
2. จัดให้ร่องบากที่ปลายแกนพวงมาลัยตรงกับรูสลักเกลียวยึดในข้อต่ออ่อนแล้วใส่ชุดแกนพวงมาลัยเข้ากับรถ ใส่สลักเกลียวยึดข้อต่ออ่อนและสลักเกลียวยึดแผงยึดแกนพวงมาลัยตัวบนและล่างหลวม ๆ
3. ขันสลักเกลียวแผงยึดแกนพวงมาลัยตัวล่าง สลักเกลียวแผงยึดแกนพวงมาลัยตัวบน และสลักเกลียวยึดข้อต่ออ่อนชุดระบบเฟืองบังคับเลี้ยวให้แน่นตามลำดับ
4. ใส่บู๊ทยางแกนพวงมาลัยและแหวนยึดแล้วขันสลักเกลียวยึดให้แน่นโดยต้องให้ปลายบนของบู๊ทครอบชุดแกนพวงมาลัยให้สูงที่สุด
5. ต่อขั้วต่อสายไฟสวิทส์ติดเครื่องยนต์และสวิทส์ไฟรวม แล้วใส่ท่อ ครอบแกนพวงมาลัยตัวล่าง และแผงกั้นตัวล่าง
6. ต่อขั้วลบของแบตเตอรี่
การถอดประกอบ
1. ถอดแกนพวงมาลัยตามที่กล่าวไปแล้ว ใช้ปากกาจับที่มีวัสดุอ่อนนุ่มรองรับจับแกนพวงมาลัย
2. สอดไขควงในช่องที่ส่วนบนของแผ่นกดแตรเพื่อปลดคลิ๊บยึดแล้วยกแผ่นกดแตรออก
3. ถอดนอตยึดพวงมาลัยและแหวนรอง ทำเครื่องหมายระหว่างพวงมาลัยกับแกนพวงมาลัยเพื่อช่วยในการประกอบ ใช้ตัวดึงที่เหมาะสมดึงพวงมาลัยออก
หมายเหตุ: ต้องใช้ตัวดึงในการถอดพวงมาลัยเท่านั้น เนื่องจากการใช้การตอกที่รุนแรง จะทำความเสียหายให้ส่วนดูดซับแรงกระแทกของแกนพวงมาลัยได้
4. ถอดสกรูยึดครอบแกนพวงมาลัยแล้วถอดครอบออกจากแกนพวงมาลัย
5. ถอดสกรูยึดชุดสวิทส์ไฟรวมเข้ากับชุดตัวรับ bearing ตัวบน แล้วเลื่อนสวิทส์ไฟรวมออกจากแกนพวงมาลัย
6. ถอดแหวน circlip ของ bearing ตัวบนและแหวนรอง บิดกุญแจติดเครื่องยนต์ไปตำแหน่ง “Off” เพื่อปลดลิ้นสปริงล๊อคพวงมาลัย
7. ถอดสลักเกลียวยึดชุดตัวรับ bearing ตัวบน เลื่อนชุดตัวรับและ bearing ออกจากแกนพวงมาลัย ถ้า bearing ติดแน่นกับแกนพวงมาลัย ใช้ตัวดึงที่เหมาะสมเพื่อถอดชุดตัวรับ ห้ามใช้ค้อนตอกแกนพวงมาลัยเพื่อถอดชุดตัวรับ bearing เพราะอาจทำความเสียหายแก่ส่วนดูดซับแรงกระแทกของแกนพวงมาลัย
การตรวจ
ถ้ารถผ่านการชนมาและเกิดความเสียหายแก่แกนพวงมาลัย ต้องเปลี่ยนชุดแกนพวงมาลัยใหม่เนื่องจากซ่อมไม่ได้
ถ้าสงสัยว่า bearing แกนพวงมาลัยตัวล่างชำรุดก็ต้องเปลี่ยนชุดแกนพวงมาลัย
สามารถเปลี่ยน bearing แกนพวงมาลัยตัวบนได้เป็นชุดเดียวกับชุดตัวรับ bearing เท่านั้น
1. ตรวจ bearing แกนพวงมาลัยหาการชำรุดหรือความขรุขระ
2. ตรวจท่อแกนพวงมาลัยตัวนอกหาการชำรุด
3. ตรวจปลายแกนพวงมาลัยส่วนที่เป็นเกลียวและเฟืองหาการชำรุด
4. ตรวจแกนพวงมาลัยหาสิ่งชี้ถึงการยุบตัวและการเคลื่อนระหว่างแกนตัวในและตัวนอก
5. ตรวจดุมพวงมาลัยหาการชำรุดของฟันเฟือง
6. ตรวจชุดตัวรับ bearing ตัวบนหาการชำรุดหรือสึกกร่อน
7. เปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดหรือสงสัยทั้งหมด
การประกอบ ทำกลับกันกับการถอดประกอบโดยเพิ่มเติมในจุดต่อไปนี้
1. ใส่ชุดตัวรับ bearing ตัวบนเข้ากับแกนพวงมาลัยแล้วใส่แหวน circlip และแหวนรอง ใส่สลักเกลียวยึดชุดตัวรับ bearing ตัวบนแล้วขันแน่น
2. ใส่ชุดสวิทส์ไฟรวมเข้ากับชุดตัวรับ bearing ตัวบนแล้วขันสกรูยึด
3. ใส่ครอบแกนพวงมาลัยบนและล่าง
4. ใส่ให้เครื่องหมายที่ทำไว้ตอนถอดตรงกัน ใส่พวงมาลัยเข้ากับแกนพวงมาลัยโดยเข็มขั้วไฟสัญญานเลี้ยวต้องตรงกับรูในดุมพวงมาลัย ใส่แหวนรองและนอตยึดแล้วขันนอตตามแรงที่กำหนด
5. ใส่แผ่นกดแตรเข้ากับพวงมาลัย โดยใส่ส่วนล่างของแผ่นกดแตรเข้ากับคลิ๊บยึดแล้วกดส่วนบนของแผ่นกดแตรเข้ากับพวงมาลัยจนคลิ๊บตัวบนล๊อคเข้าที่
9. ข้อต่ออ่อน
การถอดและการใส่
1. ถอดแกนพวงมาลัยออกจากรถตามที่กล่าวในข้างต้น
2. ถอดสลักเกลียวยึดข้อต่ออ่อนเข้ากับแกน pinion ชุดเฟืองบังคับเลี้ยว
3. เลื่อนข้อต่ออ่อนออกจากแกน pinion แล้วถอดออกจากรถ
4. ตรวจข้อต่ออ่อนหาการสึกกร่อนหรือชำรุด เปลี่ยนใหม่ตามจำเป็น
การใส่ ทำกลับกันโดยเพิ่มเติมในจุดต่อไปนี้
1. ใส่ให้สลักบนแกน pinion ตรงกับรูสลักเกลียวยึดในข้อต่ออ่อน ใส่และขันสลักเกลียวยึดให้แน่น
2. ใส่แกนพวงมาลัยตามที่กล่าวไว้ อย่าให้ชุดเฟืองบังคับเลี้ยวเคลื่อนและต้องคงอยู่ในตำแหน่งที่ได้จุดกึ่งกลาง
10. พวงมาลัย
เครื่องมือเฉพาะที่ใช้:
การถอด ตัวดึงพวงมาลัย
การถอดและการใส่
1. ถอดขั้วลบของแบตเตอรี่
2. สอดไขควงเข้าในข่องที่ด้านบนของแผ่นกดแตรเพื่อปลดคลิ๊บยึดแล้วยกแผ่นกดแตรออก
3. ถอดนอตยึดพวงมาลัยและแหวนรอง ทำเครื่องหมายพวงมาลัยกับแกนพวงมาลัยเพื่อช่วยในการประกอบ ใช้ตัวดึงที่เหมาะสมถอดพวงมาลัยออก
หมายเหตุ: ต้องใช้ตัวดึงเท่านั้นเพื่อถอดพวงมาลัยเนื่องจากการตอกที่รุนแรงสามารถทำให้ส่วนดูดซับแรงของแกนพวงมาลัยเสียหายได้
การใส่ ทำกลับกันโดยเพิ่มเติมในจุดต่อไปนี้
1. จัดให้เครื่องหมายที่ทำไว้ตอนถอดตรงกันแล้วใส่พวงมาลัยเข้ากับแกนพวงมาลัยโดยเข็มของขั้วสัญญานไฟเลี้ยวต้องตรงกับรูในดุมพวงมาลัย ใส่แหวนรองและนอตยึดแล้วขันนอตตามแรงที่กำหนด
2. ใส่แผ่นกดแตรเข้ากับแกนพวงมาลัยโดยใส่ส่วนล่างของแผ่นกดแตรเข้ากับคลิ๊บยึด แล้วกดด้านบนของแผ่นกดแตรเข้ากับพวงมาลัยจนคลิ๊บตัวบนล๊อคเข้าที่
CREDIT :: http://dop.rta.mi.th/04019/Holden/Holden13.htm

Read More