ระบบปรับอากาศ





เครื่องปรับอากาศ คือ เครื่องมือสำหรับ :
- ควบคุมอุณหภูมิ
- ควบคุมการหมุนเวียนของอากาศ
- ควบคุมความชื้น
- ทำให้อากาศสะอาด

เครื่องปรับอากาศ คือ อุปกรณ์สำหรับรักษาอุณหภูมิและความชื้นของอากาศภายในห้องให้อยู่ในสภาพที่ เหมาะสม เมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้น ความร้อนจะถูกดึงออกมาเพื่อให้อุณหภูมิ ลดลง (เรียกว่าการทำความเย็น) และในทางกลับกัน เมื่ออุณหภูมิภายในห้องลดลง ความร้อนก็จะถูกจ่ายออกมาเพื่อ ให้อุณหภูมิสูงขึ้น (เรียกว่า การทำความร้อน) ดังนั้น ความชื้นที่อยู่ในอากาศจะถูกเพิ่มหรือลดลงเพื่อควบคุมระดับความชื้นของ อากาศให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
ดังนั้น เครื่องปรับอากาศจึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นประกอบไปด้วยเครื่องทำความเย็น เครื่องทำ ความร้อนตัวควบคุมความชื้นและเครื่องถ่ายเทอากาศ
เครื่องปรับ อากาศสำหรับรถยนต์โดยทั่วๆ ไป ประกอบด้วย เครื่องทำความร้อน หรือเครื่องทำความเย็นซึ่งมีตัวดูดความชื้นและเครื่องถ่ายเทอากาศ

ระบบ ปรับอากาศในรถยนต์จะใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
1. คอมเพรสเซอร์ ( COMPRESSOR)
2. คอยล์ร้อน ( CONDENSER)
3. ถังพักน้ำยา-กรองและดูดความชื้น ( FILTER-DRYER RECEIVER)
4. วาล์วลดความดัน ( EXPANSION VALVE)
5. คอยล์เย็น ( EVAPORATOR)
6. น้ำยาแอร์ ( REFRIGERANT)

คอมเพรสเซอร์ ( COMPRESSOR)
คอมเพรสเซอร์ คือ อุปกรณ์ส่วนที่ทำหน้าที่เพิ่มความดันของน้ำยาแอร์ในระบบให้สูงขึ้นเพื่อ ส่งต่อไปให้กับคอยล์ร้อน คอมเพรสเซอร์ที่ใช้กับรถยนต์อาจพบได้ 2 แบบ คือ แบบรีซีปโปรเคติ้ง ( RECIPROCATING TYPE) และแบบโรตารี่ (ROTARY TYPE) ซึ่งแบบรีซีปโปรเคติ้งสามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. แบบเพลาข้อเหวี่ยง ( CRANK SHAFT TYPE)
2. แบบสว๊อชเพลต ( SWASH PLATE TYPE)
ส่วนแบบโรตา รี่จะเป็นแบบใบพัด (THROUGH VANE TYPE)



CRANK SHAFT TYPE (แบบเพลาข้อเหวี่ยง)
SWASH PLATE TYPE (แบบสว๊อชเพลต)
THROUGH VANE TYPE (แบบใบพัด)
คอมเพรสเซอร์แบบสว๊อชเพลตจะติดตั้งอยู่บริเวณเครื่อง ยนต์ ทำงานโดยได้รับแรงหมุนจากเครื่องยนต์ส่งผ่านมาทางสายพานซึ่งคล้องไว้กับพู ลเลย์ของอมเพรสเซอร์ โดยที่พูลเลย์ของ คอมเพรสเซอร์จะมีคลัทช์แม่เหล็กติดตั้งอยู่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพูลเลย์ พูลเลย์ของคอมเพรสเซอร์ จะอยู่บนแกนกลางของเพลาหมุนของคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่เครื่องยนต์หมุนแรงหมุนของเครื่องยนต์ จะถูกส่งผ่านสายพานมาหมุนพูลเลย์ของคอมเพรสเซอร์ โดยที่คอมเพรสเซอร์จะยังไม่ทำงาน

ขณะที่เราเปิดสวิตช์แอร์ในห้อง โดยสารไปที่ตำแหน่ง ?ON? กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จะไป ทำให้คลัทช์แม่เหล็ก ทำงาน โดยดูดยึดติดกับพูลเลย์จึงส่งผลให้แกนเพลาหมุนของคอมเพรสเซอร์ ยึดติดกับพูลเลย์ จากจุดนี้ทำให้คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงาน เมื่ออุณหภูมิในห้องโดยสารเริ่มเย็นลงตาม อุณหภูมิที่ตั้งไว้แล้วเซ็นเซอร์ควบคุมอุณหภูมิ ( THERMOSTAT) จะทำงาน โดยตัดกระแสไฟฟ้าที่ จะส่งไปยังคลัทช์แม่เหล็ก ทำให้คลัทช์แม่เหล็กกับพูลเลย์แยกออกจากกัน คอมเพรสเซอร์จึงหยุด การทำงาน และอีกกรณีที่คลัทช์แม่เหล็กจะหยุดการทำงานคือ การที่เราปิดสวิทช์ตัวตั้งอุณหภูมิ ภายในห้องโดยสารนั่นเอง

คอยล์ร้อน ( CONDENSER)
คอยล์ร้อนจะมีลักษณะ เป็นแผงรับอากาศขนาดพอๆ กับหม้อน้ำรถยนต์ มีทางเข้าและทางออก ของน้ำยาแอร์ ซึ่งถูก ออกแบบมาให้มีท่อน้ำยาแอร์ขดไปขดมาบนแผง โดยผ่านครีบระบายความร้อน ซึ่งมีลักษณะคล้ายครีบระบายความร้อนของหม้อ น้ำ คอยล์ร้อนจะถูกติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ารถยนต์ คู่กับหม้อน้ำและอาจจะมีพัดลมไฟฟ้าช่วยระบายความร้อน ท่อทางเข้าของคอยล์ร้อนจะต่อท่อร่วมกับรูทางออกของคอมเพรสเซอร์ ส่วนท่อทางออกของ คอยล์ร้อนจะต่อเข้ากับถังพักน้ำยา-กรองและตัวดูดความชื้น

ถังพักน้ำยา-กรองและตัวดูดความชื้น ( FILTER-DRYER RECEIVER)
ถังพักน้ำยา-กรองและตัวดูดความชื้น มีลักษณะเป็นทรงกระบอกไม่ใหญ่มาก ถูกติดตั้งอยู่ ใกล้กับแผงคอยล์ร้อนด้านบนของถังพักน้ำยาจะ มีกระจกใสสามารถมองเห็นน้ำยาแอร์ได้ และจะมี ท่อน้ำยาแอร์ที่มาจากคอยล์ร้อน ต่อเข้ากับท่อทางเข้าของพักน้ำยาแอร์นี้และจะต่อท่อน้ำยาแอร์ และจะต่อท่อน้ำยาแอร์ออกจากถังพักน้ำยาแอร์ไปสู่วาล์วปรับความดัน เราสามารถตรวจสอบระดับน้ำยาแอร์ในระบบได้จากการมองทะลุไปที่กระจกใส ด้านบนของ ถังพักน้ำยาแอร์ ในขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงานไปสักพักหนึ่ง หากพบว่ามีฟองอากาศในถังพักน้ำยา แอร์อยู่มาก แสดงว่ามีน้ำยาแอร์อยู่ในระบบน้อยแต่ถ้าไม่เห็นเป็นฟองอากาศ และมีลักษณะน้ำหยดอยู่ แสดงว่ามีน้ำยาแอร์อยู่ในระบบในปริมาณที่พอดี

วาล์วลดความดัน ( EXPANSION VALVE )

วาล์ว ลดความดันทำหน้าที่ลดความดันของน้ำยาแอร์ให้ต่ำลงมาเมื่อน้ำยาแอร์มีความดัน ต่ำก็จะทำให้อุณหภูมิของน้ำยาแอร์ต่ำลงมาด้วย จากนั้นก็จะส่งผ่านน้ำยาแอร์เข้าไปสู่คอยล์เย็นต่อไป

คอยล์เย็น ( EVAPORATOR)
คอยล์เย็นมี ลักษณะเป็นแผงและมีท่อโลหะขดไปขดมาเรียงตัวอยู่ในแผง และมีครีบระบายความ เย็นเรียงตัวกันคล้ายกับคอยล์ร้อน แต่ขนาดอาจจะแตกต่างกันโดยที่ด้านหลังจะมีพัดลม ( BLOWER )
ไว้คอยดูด อากาศภายในห้องโดยสารให้ผ่านตัวคอยล์ เย็น ซึ่งอากาศที่ผ่านคอยล์เย็นจะวิ่งไปตาม ท่อทางของ ท่อแอร์ ไปออกที่บริเวณช่องแอร์ที่อยู่บนคอนโซล รถยนต์ และที่คอยล์เย็นจะมีเทอร์โม สตัทติดตั้งอยู่ เพื่อคอยตรวจสอบและควบคุมอุณหภูมิโดยผ่านทางสวิทช์ปรับระดับความเย็นซึ่งถูก ติด ตั้งอยู่บนแผงคอนโซลแอร์(สามารถเลือกอุณหภูมิหรือความเย็นได้หลาย ระดับ) รวมถึงพัดลมดูด อากาศที่อยู่หลังคอยล์เย็นก็สามารถปรับขนาดของความเร็วในการหมุนได้อีกด้วย โดยผ่านทางสวิทช์ ควบคุมความแรงของพัดลมซึ่งติด ตั้งอยู่บนแผงคอนโซลแอร์ เช่นกัน อุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่บริเวณใกล้ๆ กับคอยล์เย็น จะอยู่ในกล่องที่เรามักเรียกว่า ตู้แอร์ จะเป็นตู้สำเร็จรูป ถูกติดตั้งโดยยึดติดกับโครงรถบริเวณใต้คอนโซลหน้าปัทม์ พร้อมทั้งยังมีท่อน้ำทิ้ง ซึ่งต่อออกจากตู้แอร์ออกไปนอกตัวรถ เพราะบาง สถานการณ์ความเย็นที่บริเวณคอยล์เย็น รวมตัว เกาะกันเป็นน้ำแข็งแล้วหยดเป็นน้ำไหลไปตามท่อน้ำทิ้งของตู้แอร์

น้ำยาแอร์ ( REFRIGERANT)
น้ำยาแอร์ คือ สารให้ความเย็น ซึ่งสารชนิดนี้มีคุณสมบัตในการ ดูดซับความร้อน รอบๆ ข้างเข้ามาอยู่ในตัวของมันแล้วทำให้อากาศบริเวณ รอบข้างมีอุณหภูมิต่ำลงน้ำยาแอร์ที่ใช้ในรถยนต์จะใช้สาร CFC-12 (โดยทั่วไปเรียก R-12 ) โดยสารชนิดนี้ เมื่อผ่านกระบวนการทำให้เป็น ของเหลวและทำให้ความดันต่ำแล้ว จะดูดซับความร้อนได้ดีต่อมามี การรณรงค์เรื่องการต่อต้านการใช้สาร CFCเพราะสาร CFCจะไปทำลายชั้น โอโซนของ โลก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อโลกในระยะยาว และน้ำยา CFC-12 ก็เป็นสารประเภทนี้ด้วย ดังนั้นต่อมาผู้ผลิตน้ำยาแอร์ส่วนใหญ่จึงหันมา ใช้น้ำยาสูตรใหม่ คือ HFC-134a (หรือทั่วไปเรียกว่า R-134a )โดยจะใช้ กับรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ถูกผลิตออกมาเพราะจะไม่เป็นอันตรายต่อชั้น โอโซนของโลก

การทำงานของระบบปรับอากาศใน รถยนต์
เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานก็จะทำการดูดน้ำยาแอร์ ที่มีสภาพเป็นก๊าซความดันต่ำ และอุณหภูมิ ต่ำเข้ามาอัดความดันและทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น จากนั้นก๊าซที่มีอุณหภูมิสูงและความดันสูงจะถูกส่งไป ตามท่อทางออกของคอมเพรสเซอร์เข้าสู่แผงคอยล์ร้อน ซึ่งจะทำหน้าที่ระบายความร้อนของก๊าซเหล่านออกไปตามครีบระบายความร้อนจน กระทั่งก๊าซเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวที่มีความดันสูง ไหลออกจากคอยล์ร้อนผ่านท่อทางออกไปเข้าสู่ถังพักน้ำยาแอร์ เพื่อกรองสิ่งแปลกปลอมและดูด ความชื้นไปด้วยในขณะนี้น้ำยาแอร์มีสภาพเป็นของเหลวและความดันสูงไหออกจากถัง พักน้ำยาแอร์ ไปตามท่อเข้าสู่วาล์วปรับความดัน วาล์วปรับความดันจะลดความดันของน้ำยาแอร์ลงมาทำให้อุณหภูมิของน้ำยาแอร์ลด ต่ำลงอย่าง มากเพื่อป้อนเข้าสู่คอยล์เย็น ของเหลวความดันต่ำอุณหภูมิต่ำจะไหลเข้าสู่คอยล์เย็นและจะทำการดูด ซับความร้อนที่บริเวณรอบๆ ตัว ซึ่งพัดลม( BLOWER ) ก็จะทำหน้าที่ดูดอากาศในห้องโดยสารผ่านแผง คอยล์เย็นผ่านท่อทางจนไปออกที่ช่องแอร์บนแผงคอนโซลหน้า อากาศร้อนในห้องโดยสารจะถูกดูด ซับออกไปด้วยวิธีนี้ ส่วนน้ำยาแอร์ก็จะทำการดูดซับความร้อนวนเวียนตามท่อทางเดินที่ขดไปมาบน แผงคอยล์เย็นจนแปรสภาพกลายเป็นก๊าซ และไหลออกจากคอยล์เย็นไปตามท่อเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ซึ่งก๊าซจะมีความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำเข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้งเพื่อเริ่มต้นกระบวนการอัดน้ำยาแอ รใหม่อีกรอบเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดวนเวียนไปเรื่อยๆ จนกว่าคอมเพรสเซอร์จะหยุดการทำงาน



แอร์ไม่เย็น…เกิดอะไรขึ้น Grin

หลังจากเปิดแอร์แล้ว จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้ตู้แอร์แล้วหยดลงบน พื้นถนน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าไม่มีน้ำหยดแสดงว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันควรทำความสะอาดทันที ถ้า ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ตู้แอร์รั่วซึมได้

ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบปรับอากาศรถยนต์
1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ดูดและอัดน้ำยาแอร์ให้มีความดันสูงขึ้นและทำให้น้ำยาแอร์หมุนเวียน ในระบบ ติดตั้งอยู่ที่เครื่องยนต์ อาศัยแรงขับจากเครื่องยนต์ ผ่านสายพาน มักเรียกกันว่า คอมแอร์

2. คอนเดนเซอร์ ทำหน้าที่ระบายความร้อนน้ำยาแอร์ที่ออกจาก คอมเพรสเซอร์ โดยอาศัยพัดลมระบายความร้อนหรือลมปะทะขณะรถวิ่ง

3. รีซีฟเวอร์ – ดรายเออร์ ทำหน้าที่ดูดความชื่น กรองสิ่งสกปรกในน้ำยาแอร์และกักเก็บน้ำยาแอร์ให้มีปริมาณเหมาะสมกับการใช้ งานในระบบ ติดตั้งระหว่างคอนเดนเซอรืกับตู้แอร์ ที่ด้านบนจะมีตาแมวเพื่อใช้ดูว่าน้ำยาแอร์มีเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้บางรุ่นยังมีสวิตซ์ความดันติดตั้งอยู่ด้วย สวิตช์นี้มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์เสียหาย ถ้าความดันใ นระบบสูงหรือต่ำเกินไป ชุดคลัตช์แอร์จะตัดการทำงานทันที

4. ตู้แอร์ ติดตั้งอยู่ในห้องโดยสารบริเวณหลังแผงหน้าปัด

มี ส่วนประกอบที่สำคัญคือ
1. อีวาปอเรเตอร์ ทำหน้าที่เปลี่ยนอากาศร้อนให้อากาศเย็น
2. พัดลมตู้แอร์หรือชุดโบลว์เออร์ ทำหน้าที่ดูดอากาศร้อนภายในห้อง โดยสารให้ผ่านอีวาปอเรเตอร์เป็นลมเย็นเป่าออกทางช่องลม
3. เอกซ์แพนชันวาล์ว ทำหน้าที่ปรับความดันของน้ำยาแอร์มีคุณสมบัติในการดูด ความร้อนจากอากาศ
4. ชุดทำความร้อน ใช้ความร้อนจากน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์มาอุ่นให้อากาศร้อนขึ้นแล้วเป่าออก มาโดยพัดลม ตามปกติใช้ในขณะอากาศหนาว

สาเหตุ ที่แอร์รถยนต์ไม่เย็นเกิดจาก
1.ฟิวส์และรีเลย์ในวงจรเครื่องปรับ อากาศชำรุด และขั้วต่อสายไฟตามจุดต่าง ๆ ต่อไว้ไม่แน่น
2.สวิตช์ความดัน สูง ? ต่ำในระบบชำรุด หรือขั้วต่อไม่แน่น ทำให้คอม ? เพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน ถ้าความดันในระบบสูงหรือต่ำเกินไป คอมเพรสเซอร์ก็จะไม่ทำงานเช่นกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหาย
3.คลัตช์แม่เหล็กไม่ทำ งาน หรือสายไฟเข้าคลัตช์แม่เหล็กขาด
4.สายพานแอร์หย่อนเกินไปหรือขาด ทำให้คอมเพรสเซอร์หมุนช้าหรือไม่หมุน
5.พัดลมไฟฟ้าของแอร์ไม่ทำงานหรือ หมุนช้า ทำให้ความร้อนที่คอน ?เดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) สูง สาเหตุอาจเกิดจากแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ หรือตัวมอเตอร์พัดลมแอร์เริ่มเสื่อมสภาพ
6.มีเศษผงหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ ที่ด้านหน้าคอนเดนเซอร์แอร์ ควรใช้ลมที่มีความดันไม่เกิน 10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป่าทำความสะอาด อย่าใช้ลมที่มีความดันสูงกว่านี้ เพราะอาจทำให้ครีบทที่คอนเดนเซอร์แอร์บิดงอ
7.ตัวเอ็กซ์แพนชัววาล์วเสีย หรือเสื่อมสภาพ ทำให้คอมเพรสเซอร์ แอร์ตัด ? ต่อบ่อยเกินไป
8.ตัวรีซี ฟเวอร์ – ดรายเออร์เสื่อมสภาพ ที่ด้านบนจะมีกระจกใสเพื่อตรวจดูน้ำยาแอร์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ถ้ากระจกใสหรือมีฟองอากาศเล็กน้อยแสดงว่าปกติ
9.น้ำยาแอร์รั่วซึมตามจุด ต่าง ๆ เช่น บริเวณข้อต่อ รั่วที่ซีลดโอริง รั่วที่คอนเดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) รั่วที่บริเวณใต้ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ภายในตู้ทำให้เกิดการผุกร่อน ปัจจุบันตู้แอร์ส่วมมากทำด้วยอะลูมิเนียม ถ้ามีน้ำขังอยู่จะทำให้ตู้แอร์รั่วได้ง่าย
10คอมเพรสเซอร์แอร์เสื่อมสภาพ

น้ำยา แอร์รั่วตามจุดต่าง ๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แอร์ไม่เย็น จุดที่น้ำยาแอร์รั่วบ่อยได้แก่ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ วิธีตรวจว่าระบบปรับอากาศรถยนต์ทำงานปกติหรือไม่ ทำได้โดยติดเครื่องยนต์และเปิดแอร์ ใช้มือจับที่ท่อดูดจะเย็นหรือบางทีมีน้ำเกาะ ส่วนที่ท่อจ่ายจะร้อน ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าระบบปรับอากาศทำงานตามปกติ

คำแนะนำ
หมั่นดูดฝุ่นภายในรถบ่อย ๆ และไล่น้ำออกจากตู้แอร์ทุกครั้งก่อนดับเครื่องยนต์
หลังจากปิดแอร์แล้ว จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้ตู้แอร์แล้วหยุดลงบนพื้นถนน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าไม่มีน้ำหยดแสดงว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันควรทำความสะอาดทันที ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ดูแอรืรั่วซึมได้

ความดันของระบบ

เราสามารถแบ่ง ความดันของระบบออกได้ 2 ด้าน

1.ด้าน ความดันสูง (high side) มีความดันเท่ากันตลอด ประกอบด้วยด้าน ดิสชาร์จ (Discharge) ของคอมเพรสเซอร์ เข้าสู่ท่อ ท่อดิสชาร์จ ( Discharge line ) ,คอนเดนเซอร์ ( Condenser ), ดรายเออร์และรีซีฟเวอร์ ( Drier & receiver ), ท่อลิควิด ( Liquid line ) และทางเข้าของ แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ( Expansion valve)

2.ด้านความดันต่ำ (Low side)มีความ ดันเท่ากันตลอด เริ่มจากทางด้านออกของ แอ็กซแพนชั้นวาลว์ (Expansion valve) เข้าสู่ อีวาโปเรเตอร์ ( Evaporator ) ,ท่อซักชั่น ( Suction line) และด้านซักชั่น (Suction) ของคอมเพรสเซอร์

ซึ่ง ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความดันของระบบซึ่งทำงานปรกติคือ อากาศภายนอกรถยนต์ ซึ่งจะทำหน้าที่ระบายความร้อน ออกจากระบบ ถ้าระบบสามารถระบายความร้อนได้ดี ความดันของระบบก็จะเป็นปรกติ

ในการบริการระบบทำความเย็นหรือระบบปรับ อากาศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบความดันทั้งสองด้าน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ต้องมีวาวล์บริการไว้ประจำทั้งสองด้านของระบบ ซึ่งวาวล์บริการทั้งสองคือ วาวล์บริการด้าน ความดันสูง (high side service valve ) และวาวล์บริการด้านความดันต่ำ (low side service valve ) จะติดตั้งในบริเวณที่สะดวกที่จะบริการ

วงจร พื้นฐานของระบบทำความเย็นและปรับอากาศ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักอยู่ 5 อย่างและมีระบบท่ออีก 3 ท่อที่สำคัญดังนี้

อุปกรณ์หลัก 1.คอมเพรสเซอร์( Compressor) 2.คอนเดนเซอร์ ( Condenser ) 3.ดรายเออร์และรีซีฟเวอร์ ( Drier & receiver ) 4.แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ( Expansion valve) 5.อีวาโปเรเตอร์ ( Evaporator )

ระบบท่ออีก 3 ท่อ

6.ท่อ ดิสชาร์จ ( Discharge line ) 7.ท่อลิควิด ( Liquid line ) 8.ท่อซักชั่น ( Suction line )

การทำงานของระบบ

เริ่ม ต้นที่สารทำความเย็น ( Refrigerants ) เพราะว่าถ้าปราศจาก สาร ทำความเย็นแล้ว ไม่ว่าการทำความเย็นหรือปรับอากาศก็จะไม่เกิดขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือ คุณสมบัติของสารทำความเย็น คือสารที่ดูดความร้อนเข้าสู่ตัวเองที่อุณหภูมิต่ำ และระบายความร้อนออกที่ อุณหภูมิสูง ยกตัวอย่างเช่น CFC -12 ซึ่งเป็นสารทำความเย็นยอดนิยมมาตั้งแต่ปี คศ.1930 จนยกเลิกการผลิตไปในปี คศ.2000

สารทำความเย็น CFC-12 มีจุดเดือดที่-29.8 ?C และมีค่าความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ 39.97 kcal/kg ถ้าเปรียบเทียบจุดเดือดกับ น้ำ ซึ่งมีจุดเดือดที่ 100 ?C แล้ว สารทำความเย็น CFC-12 มีจุดเดือดที่ต่ำกว่า จึงมีความเหมาะสมมากกว่าที่จะนำไปใช้เป็นสารทำความเย็น

การทำงานของระบบปรับอากาศรถยนต์

1.คอมเพรสเซอร์( Compressor) ทำหน้าที่ดูดสารทำความเย็นที่เข้ามาทาง ท่อซักชั่น ( Suction line )หรือท่อดูด สารทำความเย็นที่ดูดเข้ามานี้มีสถานะเป็นไอ (ไออิ่มตัว saturated vapor )มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ แล้วอัดออกไปด้วยกำลังของเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ ออกมาทางท่อท่อดิสชาร์จ ( Discharge line )หรือท่อจ่าย สารทำความเย็นที่ถูกอัดออกไปนี้จะมีสถานะเป็นไอ (ไอยิ่งยวด superheated vapor) มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง

2.คอนเดนเซอร์ ( Condenser ) ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น สารทำความเย็นที่ถูกอัดออกมาจาก คอมเพรสเซอร์ เข้ามาทางท่อท่อดิสชาร์จ ( Discharge line )หรือท่อจ่าย มีสถานะเป็นไอ (ไอยิ่งยวด superheated vapor)มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง หลังจากระบายความร้อนออกแล้ว สารทำความเย็น จะมีสถานะเป็นของเหลว (ของเหลงอิ่มตัว satured liquid) มีความดันสูงและอุณหภูมิ สูงคอนเดนเซอร์ ( Condenser ) ติดตั้งบริเวณส่วนหน้าของรถหน้าหม้อน้ำรถยนต์ มีพัดลมทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อน

3.ดรายเออร์และรีซีฟเวอร์ ( Drier & receiver) สารทำความเย็นที่ออกจาก คอนเดนเซอร์ จะถูกส่งมาที่ ดรายเออร์และรีซีฟเวอร์ เพื่อทำการกรอง , ดูดความชื้น และพักสารทำความเย็นเพื่อจะส่งต่อไปยัง แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ผ่านทางท่อ ท่อลิควิด ( Liquid line )

4.แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ( Expansion valve) ทำหน้าที่ทำหน้าที่ลดความดัน ของสารทำความเย็น และควบคุมสารทำความเย็นที่ฉีดเข้าสู่อีวาโปเรเตอร์ ให้พอเหมาะที่จะกลายเป็นไอในอีวาโปเรเตอร์ การฉีดนั้นเช่นเดียวกับการฉีดน้ำทางท่อยางที่บีบปลายท่อใว้ สารทำความเย็นจะถูกฉีดเข้าไปเป็นฝอย จะมีสถานะเป็นไอเปียก มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ เข้าสู่ อีวาโปเรเตอร์

5.อีวาโปเรเตอร์ ( Evaporator ) รับสารทำความเย็นที่ฉีดออกมาจาก แอ็กซแพนชั้นวาลว์ ซึ่ง มีลักษณะเป็นฝอย มีสถานะเป็นไอเปียก มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากคุณสมบัติของสารทำความเย็นที่มีจุดเดือดที่อุณหภูมิต่ำ ที่อีวาโปเรเตอร์นี้เองที่สารทำความเย็นจะดูดความร้อนเข้าสู่ตัวเองแล้วกลาย เป็นไอ (ไออิ่มตัว มีความดันต่ำ และอุณหภูมิต่ำ ) ออกจาก อีวาโปเรเตอร์แล้วถูกดูดเข้าสู่ คอมเพรสเซอร์ เมื่อความร้อนของอากาศโดยรอบอีวาโปเรเตอร์ถูกดูดออกไป ที่เหลือก็คืออากาศเย็น ที่พัดออกมาทางช่องลมเย็นนั้นเอง

การตรวจสอบรอยรั่ว

1. แบบฟองสบู่
เป็นวิธีการที่นิยมใช้มากเนื่องจากว่า ประหยัดค่าใช่จ่าย ง่ายต่อการตรวจสอบ มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เพราะเพียงแค่เราสังเกตุดูลักษณะฟองสบู่ในจุดที่เราทำการตรวจเช็ค เราก็จะทราบว่าในจุดๆนั้นมีรอยรั่วหรือไม่
2. แบบตะเกียงตรวจรั่ว มีหลักการคร่าวๆคือใช้ตะเกียงที่มักต่อกับกระป๋องแก๊สขนาดเล็กที่ถือได้ สะดวกและแก๊สที่ใช้มักเป็นแก๊สโพรเพน เมื่อจุดไปให้ตัวตะเกียงจะเกิดเปลวไฟขึ้น ซึ่งสีเปลวไฟจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับสีเปลวไฟของระบบเตาแก๊สในบ้านเรือน เมื่อมีการนำไปตรวจรั่ว ถ้ามีการรั่วของสารทำความเย็นในระบบ เปลวไฟจะเปลี่ยนสีไปจากปกติทันที โดยลักษณะของเปลวไฟจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน
3. แบบอิเล็กทรอนิกส์ จัดได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบรอยรั่วระบบปรับอากาศรถยนต์และระบบปรับ อากาศทั่วๆไปที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถวิเคราะห์จุดรั่วได้แม้จะเป็นจุดรั่วเล็กน้อยก็ตาม โดยปกติแล้วจะมีใช้อยู่ 2 ระบบคือระบบแสงและระบบเสียง โดยจะมีแสงกระพริบหรือเสียงเตือนเมื่อมีการรั่วเกิดขึ้นในบริเวณใด แต่เครื่องตรวจสอบรอยรั่วแบบอิเล็กทรอนิกส์มักมีราคาแพง จึงไม่เป็นที่นิยมในท้องตลาดเท่าใดนัก

คอมเพรสเซอร์

คอมเพรสเซอร์ หรือ เครื่องอัด คือ อุปกรณ์ที่เพิ่มความดันของสารความเย็นที่อยู่ในสภาวะที่ เป็นไอ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการดูดและอัดน้ำยาในสถานะที่เป็นแก๊สคือดูดน้ำยาที่เป็น ซูเปอร์ฮีต แก๊ส ความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำจากอิวาพอเรเตอร์ผ่านเข้ามาทางท่อซักซั่น เข้ายังทางดูดของ คอมเพรสเซอร์ แล้วอัดแก๊สนี้ให้มีความดันสูงขึ้นและมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย ส่งเข้ายังคอนเดนเซอร์ โดยผ่านเข้ายังท่อดิสชาร์จเพื่อไปกลั่นตัวเป็นของเหลวในคอนเดนเซอร์ด้วยการ ระบายความร้อนออก จากน้ำยานี้อีกทีหนึ่ง? ?ชนิดของคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ในระบบปรับอากาศรถยนต์ คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญของระบบเครื่องทำความเย็น สำหรับเครื่องปรับ อากาศรถยนต์แล้วคอมเพรสเซอร์ที่ใช้แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
1.แบบลูกสูบ
2.แบบสวอชเพลต
3.แบบโรตารี
คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ หน้าที่และการทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบคือจะดูดและอัดน้ำยาในสถานะที่ เป็นแก๊ส โดยดูดน้ำยาในสถานะแก๊สที่มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำเข้ามาอัดตัวให้เป็น แก๊สที่มีความดันสูงและอุณหภูมิสูงขึ้นและส่งไปยังคอนเดนเซอร์ หลักการทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบคือ ในแต่ละกระบอกสูบจะประกอบด้วยชุดของลิ้นทางดูดและลิ้นทางอัดซึ่งติดอยู่กับ วาล์วเพลต ขณะที่ลูกสูบหนึ่งลงในจังหวะดูด อีกลูกหนึ่งจะเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัด

คอมเพรสเซอร์ แบบโรตารี คอมเพรสเซอร์แบบโรตารีจะฉุดกำลังเครื่องยนต์น้อยกว่าแบบอื่นๆ มีขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่า แต่ขีดจำกัดของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารีก็คือขนาดเครื่องปรับอากาศ ถ้าจำนวนบีทียูของเครื่องมีขนาดมากกว่า 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพของคอมเพรสเซอร์แบบนี้จะลดลง ซึ่งด้อยกว่าแบบสวอชเพลตหรือลูกสูบ และเนื่องจากรถยนต์ของอเมริกันเป็นรถขนาดใหญ่ ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องการขนาดบีทียูที่สูงกว่ามาก จึงต้องใช้คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลตหรือลูกสูบ

คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลต ปัจจุบันคอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลตเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการติด ตั้งเครื่องปรับอากาศรถยนต์ เพราะคอมเพรสเซอร์แบบนี้มีขนาดเล็กกะทัดรัด มีประสิทธิภาพการทำงานสูง และฉุดแรงเครื่องน้อยกว่าแบบลูกสูบ ในขนาดของการทำความเย็นจำนวนบีทียูเท่ากัน

credit :: http://www.siamviewer.com
credit :: http://www.familycar.com

Labels:



comment closed