ระบบเบรครถยนต์




ระบบเบรคของรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
1. Drum brakes - single leading edge (ชนิดขอบด้านเดียว)
ในชุดเบรคแบบดรัม ประกอบด้วยตัวดรัม (Drum) เป็นโลหะวงกลมยึดติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรค ซึ่งประกอบด้วยผ้าเบรค กลไกปรับตั้งเบรค สปริงดึงกลับ และลูกสูบปั้มเบรค ซึ่งสายน้ำมันเบรค ก็จะมาเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบ ในการดันผ้าเบรคให้ไปเสียดทานกับดรัม เพื่อให้เกิดความฝืด


เบรกแบบนี้ ฝักเบรกพร้อมผ้าเบรก ปลายด้านหนึ่งสวมอยู่กับสลัก ปลายอีกด้านหนึ่งจะติดอยู่กับเพลาลูกเบี้ยว เมื่อดึงสายเบรกลูกเบี้ยวจะบิดตัวทำให้ฝักเบรกถ่างตัวออก ผ้าเบรกจึงแนบสนิทกับดรัมซึ่งจะหมุนไปพร้อมกับดุมล้อ ความเร็วล้อลดลงเนื่องจากความฝืด และฝักเบรกจะกลับคืนสู่ตำแหน่งเดิมเนื่องจากการดึงกลับของสปริง


เนื่องจากแต่ละดรัมจะมีฝักเบรกอยู่สองตัว การทำงานของฝักเบรกแต่ละตัวจึงอาจจะมีบางตัวทำงานก่อน บางตัวทำงานทีหลัง หรืออาจจะทำงานพร้อมกันทั้งสองตัว ฝักเบรกตัวที่ทำงานก่อนจะเรียกว่าฝักเบรกตาม ดังนั้นจึงแบ่งลักษณะการทำงานของฝักเบรกได้เป็นสองลักษณะ
1. แบบนำและตามหรือนำตัวเดียว
2. แบข้อดี มีความสามารถในการหยุดรถได้เร็ว เพราะก้ามเบรกและดรัมเบรก
ถูกยึดติดกับดุมล้อ เมื่อเหยียบเบรกคนขับใช้แรงกดดันเบรกน้อย
รถบางรุ่นไม่จำเป็นต้องใช้หม้อลมเบรกช่วยในการเบรก
ข้อเสีย ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างผ้าเบรกในดรัมเบรกนั้น
ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี บางครั้งทำให้ผ้าเบรกมีอุณหภูมิสูงมาก
มีผลทำให้ประสิทธิภาพการเบรกลดลง
การปล่อยให้ประสิทธิภาพของระบบเบรคหลังด้อยลงไปเพราะขาดความเข้าใจถึงความสำคัญ ของการทำงานประสานกันระหว่างเบรคหน้า และเบรคหลังนั้น ถือเป็นอันตรายอย่างยิ่ง อย่าเพียงแต่เชื่อว่า ผ้าเบรคหน้าที่มีคุณภาพดีๆ ย่อมเพียงพอแล้ว เพราะหากว่าเบรคหลังทำงานไม่ประสาน หรือช่วยแบ่งเบาภาระกรรม ของเบรคหน้าอย่างพอเพียงแล้ว ความร้อนที่สะสมอยู่ ในผ้าเบรคหน้าอยู่เป็นเวลานานๆ ทำให้ผ้าเบรคหมดเร็ว และสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
การทำงานของระบบเบรคหน้า-หลัง ควรจะประสานการทำงานอย่างเหมาะสม ไม่ทำให้สูญเสียการควบคุมรถ ขณะเดียวกัน ประสิทธิภาพของเบรคหลัง ก็ยังต้องแบ่งเบาภาระของเบรคหน้าอย่างได้จังหวะ เพื่อลดโอกาสความเสี่ยง ของการเกิดอาการเบรคด้าน (Brake Fade) ที่มักเกิดขึ้นได้โดยง่าย หากใช้ความเร็วสูง หรือขับขี่โดยต้องใช้เบรคบ่อยๆ
ในระบบเบรคดรัม ซึ่งใช้ก้ามเบรค แทนการใช้ผ้าดิสค์เบรค ในการเสียดสีให้เกิดความฝืด ผ้าเบรคเนื้อพิเศษ ที่เหมาะกับการใช้งานกับรถบรรทุก เกรด DB 757 และผ้าเบรคที่เหมาะกับการใช้งานในระบบดรัมเบรค ที่ใช้ในล้อหลังของรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ เกรด DB 777 ให้เนื้อผ้าเบรคมีความนุ่ม พองตัวน้อย ทำงานเข้ากับระบบดรัมเบรค ซึ่งมีแรงดันต่ำกว่าระบบดิสค์เบรคได้เป็นอย่างดี โดยออกแบบให้เนื้อผ้าให้ความฝืดที่สม่ำเสมอ ทนความร้อนได้สูง ไม่ก่อให้เกิดอาการล้อล็อคได้โดยง่าย
ดิสก์เบรค (Disc Brake)

ระบบดิสเบรคจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนพื้นฐาน คือ จานเหล็กหล่อ(จานดิสเบรค) , ผ้าดิสเบรค , ก้ามปู และลูกสูบ จานดิสเบรคจะหมุนไปกับล้อ ไม่มีแผงหรือชิ้นส่วนใดมาปิด ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดี ( ที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ ประสิทธิภาพการเบรคจะลดลง ) พร้อมทั้งช่วยให้เบรคที่เปียกน้ำ แห้งได้อย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตาม ขนาดของจานเบรคก็มีข้อจำกัด เนื่องด้วยขนาดของขอบล้อ ทำให้ขนาดของผ้าดิสเบรคมีข้อจำกัดไปด้วย เพื่อชดเชยข้อจำกัดดังกล่าว ก็จะต้องป้อนแรงดันน้ำมันเบรคให้มากขึ้น ผ้าดิสเบรคจะสึกเร็วกว่าผ้าเบรคของเบรคครัม ในขณะที่ดิสเบรกบำรุงรักษาง่ายกว่า

เบรกแบบนี้ ใช้แรงดันน้ำมันเป็นตัวส่งถ่ายกำลังงาน เมื่อบีบคันเบรกมือลูกสูบของแม่ปั๊มเบรกจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทำให้น้ำมันเบรกเกิดแรงดันไหลไปตามท่อไปดันลูกสูบของ ชุดคาลิปเปอร์กดแผ่นผ้าเบรกซึ่งประกบอยู่ทั้งสองด้านของจานเบรก จานเบรกจะทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม จานเบรกจะหมุนไปพร้อมกับล้อ ดังนั้นเมื่อจานเบรกถูกบีบ ล้อก็จะมีความเร็วลดลงหรือหยุดได้ตามความต้องการ

ข้อดีของดิสก์เบรกเมื่อเทียบกับดรัมเบรก
1.จานเบรกเปิดไม่ปกปิด จึงระบายความร้อนได้ดีและสะอาด ดังนั้นประสิทธิภาพในเบรกจึงคงที่สม่ำเสมอเชื่อถือได้
2.ไม่มีการเสริมแรงเหมือนกับดรัมเบรกที่มีลักษณะการทำงาน ฝักเบรกนำจึงไม่มีความแตกต่างกำลังในการเบรก ระหว่างเบรกด้านขวาและด้านซ้าย ดังนั้นรถจักรยานยนต์จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเบรกแล้ว ดึงไปด้านใดด้านหนึ่ง
3. จานเบรกจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ระยะห่างระหว่างจานเบรกกับแผ่นผ้าเบรกก็จะเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นคันเบรกและคันเหยียบเบรก จึงยังคงทำงานได้เป็นปกติ
4.เมื่อจานเบรกเปียกน้ำก็จะถูกเหวี่ยงออกในระยะเวลาอันสั้นด้วยแรงเหวี่ยง หนีศูนย์ เนื่องจากมีข้อดีมากมายดิสก์เบรกจึงถูกเลือกใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบรกหน้า เพราะขณะทำการเบรก ภาระแทบทั้งหมดจะไปกระทำที่ด้านหน้า ดังนั้นเบรกล้อหน้าจึงมีความสำคัญจำเป็นต้องใช้ดิสก์เบรกกับล้อหน้า ทั้งปั๊มและคันเบรกจะติดตั้งอยู่บนแฮนด์ด้านขวามือ นั่นคือการทำงานโดยเบรกมือด้วยการบีบคันเร่ง เพื่อเพิ่มกำลังในการเบรก ปัจจุบันดิสก์เบรกนี้ นอกจากจะนำมาใช้กับล้อหน้าแล้ว จักรยานยนต์บางรุ่นยังนำมาใช้กับล้อหลังด้วยนั่นก็คือดิสก์เบรกทั้งล้อหน้า และล้อหลัง ตัวจานเบรกจะยึดติดกับดุมล้อหลัง ชุดคาลิปเปอร์จะมีตัวรองรับยึดอยู่ สำหรับล้อหลังเป็นเบรกเท้า ทำงานด้วยการกดคันเหยียบเบรก


แบบของดิสก์เบรกนั้นถูกแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น 2 แบบคือ
1.แบบลูกสูบตรงกันข้าม แบบนี้มีลูกสูบ 2 ลูกอยู่ตรงกันข้าม แผ่นผ้าเบรกทั้งคู่ถูกกดด้วยลูกสูบตามลำดับ
2.แบบลูกสูบลูกเดียว แบบนี้มีลูกสูบลูกเดียว เมื่อแผ่นผ้าเบรกด้านลูกสูบถูกกดให้สัมผัสกับจานเบรก แผ่นผ้าเบรกอีกด้านหนึ่งก็จะเคลื่อนตัวมาสัมผัสกับจานเบรก ด้วยแรงปฏิกิริยา ดังนั้นจานเบรกจึงถูกบีบโดยผ้าเบรกทั้งคู่ ดิสก์เบรกแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบลอย


ข้อดีลดอาการเฟด(เบรกหาย) เนื่องจากอากาศสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบรก นอกจากนี้เมื่อเบรกเปียกน้ำผ้าเบรกจะสลัดน้ำออกจากระบบได้ดี ในขณะที่ดรัมเบรกน้ำจะขัง
อยู่ภายในและใช้เวลาในการถ่ายเทค่อนข้างช้า




ข้อเสีย ไม่มีระบบ Servo action หรือ multiplying action เหมือนกับดรัมเบรก ผู้ขับต้องออกแรงมากกว่าจึงต้องใช้ระบบเพิ่มกำลัง เพื่อเป็นการผ่อนแรงขณะเหยียบเบรก
ทำให้ระบบดิสเบรกมีราคาค่อนข้างแพงกว่าดรัมเบรก

ดิสเบรก มีทั้ง 3 ชนิดดังนี้
2.1 ดิสเบรกแบบก้ามปูยึดติดอยู่กับที่ (Fixed position disc brake)
ดิสเบรกจะมีผ้าเบรกอยู่ 2 แผ่นติดอยู่ภายในก้ามปู (คาลิปเปอร์) วางประกบกับจานเบรก
เพื่อที่จะบีบจานเบรกตัวก้ามปูนั้นเป็นเพียงที่ยึดของลูกปั้มเท่านั้น จะไม่เคลื่อนที่ขณะเบรก
ทำงาน ดิสเบรกแบบนี้มีช่องทางเดินน้ำมันเบรกอยู่ภายในตัวก้ามปู หรืออาจมีท่อเชื่อมต่อ
ระหว่างลูกปั้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละชนิด

2.2 ดิสเบรกแบบก้ามปูแกว่งได้ (Swinging caliper disc brake)
พบมากในรถยนต์ทั่วไป หลักการทำงานแตกต่างจากก้ามปูยึดอยู่กับที่ เบรกแบบนี้จะมีลูกปั้มหนึ่งตัวคอยดันผ้าเบรกแผ่นหนึ่ง ส่วนผ้าเบรกอีกแผ่นจะติดอยู่กับตัวก้ามปูเองซึ่งตัวก้ามปูนี้สามารถเคลื่อนไปมาได้ เมื่อเหยียบเบรกน้ำมันเบรกจะดันลูกปั้มออกไป ผ้าเบรกแผ่นที่ติดอยู่กับลูกปั้มจะเข้าไปประกบกับจานเบรก ในขณะเดียวกันน้ำมันเบรกก็จะดันตัวก้ามปูทั้งตัวให้เคลื่อนที่สวนทางกับลูกปั้ม ผ้าเบรกตัวที่ติดกับก้ามปูก็จะเข้าประกบกับจานเบรกอีกด้านหนึ่งพร้อมกับผ้าเบรกแผ่นแรก
2.3 ดิสเบรกแบบเคลื่อนที่ไปมาได้ (Sliding Caliper disc brake)
หลักการแบบเดียวกับดิสเบรกแบบแผ่น แต่ใช้ลูกปั้มสองตัว ตัวแรกเป็นตัวดันผ้าเบรกโดยตรง ส่วนอีกตัวจะดันก้ามปู ซึ่งมีผ้าเบรกติดอยู่ให้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับลูกปั้มตัวแรก แผ่นผ้าเบรกทั้งสองจะเข้าประกบกับจานเบรกทั้งสองด้านพร้อมๆ กัน


ระบบช่วยผ่อนแรงการเหยีบเบรค
อุปกรณ์ช่วยผ่อนแรงในการเหยียบเบรคคือ หม้อลมเบรค (Brake Booster) ซึ่งทำงานด้วยสูญญากาศ (Vacuum) ภายในหม้อลมเบรค จะมีแผ่นไดอะเฟรมอยู่ และที่ตัวหม้อลมเบรคนี้เอง จะมีท่อต่อออกไป เชื่อมต่อกับท่อไอดี เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ก็จะดูดเอาอากาศที่ท่อไอดีเข้าไปเผาไหม้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ หม้อลมเบรค ถูกดูดอากาศไปใช้งานด้วย ความดันอากาศในหม้อลมเบรค จึงต่ำลงเข้าใกล้ระดับสูญญากาศ


หม้อลมเบรค (Servo)
เมื่อผู้ขับรถต้องการชลอความเร็ว หรือหยุดรถ ก็จะเหยียบลงบนแป้นเบรค แกนเหล็กที่ติดตั้งอยู่บนแกนแป้นเบรค ก็จะเคลื่อนที่ไปดันให้วาล์วอากาศ ของหม้อลมเบรคเปิดออก ทำให้ อากาศภายนอก ไหลเข้าสู่หม้อลมเบรค อย่างเร็ว ก็จะไปดันเอาแผ่นไดอะเฟรมที่ยึดติดกับแกนกดแม่ปั้มเบรค ให้เคลื่อนที่ไปดันลูกสูบในแม่ปัมพ์เบรค พร้อมๆ กับแรงเหยียบเบรคของผู้ขับรถด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ขับรู้สึกว่า เยียบเบรคด้วยความนุ่มนวล ซึ่งเมื่อผู้ขับ คืนเท้าออกจากแป้นเบรคอีกครั้ง แป้นเบรค ก็จะกลับสู่ตำแหน่งเดิม พร้อมด้วยวาล์วอากาศ ของหม้อลมเบรคก็ปิดลง อากาศที่หม้อลมเบรค ก็ยังคงถูกดูดออกไปใช้งาน อย่างสม่ำเสมอ จนกว่าเครื่องยนต์จะดับ

ในกรณีที่เครื่องยนต์ดับ ภายในหม้อลมเบรค ก็ยังคงมีสภาพเป็สูญญากาศอยู่ ดังนั้น หลังจากที่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน เรายังคงเหยียบเบรคได้อย่างนุ่มนวล อีกเพียงแค่ 2-3 ครั้ง เพราะอากาศด้านนอกหม้อลมเบรค ก็จะเข้าไปอยู่ในหม้อลมเบรค ในขณะที่ไม่มีการดูดเอาอากาศภายในหม้อลมเบรคไปใช้งาน (เพราะเครื่องยนต์ ไม่ทำงาน ไม่มีการดูดไอดีไปใช้งาน) เมื่ออากาศเข้าไปบรรจุดอยู่ในหม้อลมเบรค จนเต็ม ก็ไม่มีแรง จากหม้อลมเบรค มาช่วยดันลูกสูบในแม่ปั้มเบรค ทำให้ผู้ขับจะต้องออกแรงเหยียบแบรคมากขึ้นไปด้วย

ระบบเบรค 1 วงจร และ 2 วงจร
ระบบเบรคแบบ 1 วงจร จะทำการจ่ายน้ำมันเบรค จากแม่ปั้มเบรค กระจายไปให้กับเบรค ทั้ง 4 ล้อ ซึ่งมีข้อเสียคือ เมื่อน้ำมันเบรค เกิดรั่วไหล ณ จุดใดจุดหนึ่ง ของระบบเบรค เมื่อเหยียบเบรค แรงดันน้ำมันเบรค ก็ไม่สามารถ ไปดันลูกสูบเบรคให้ขยายตัวได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะน้ำมันเบรคไหลออกไปที่จุดรั่ว ทำให้ผู้ขับไม่สามารถควบคุม การหยุดรถได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจเกิดอันตรายได้ในที่สุด

รถยนต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะใช้ระบบเบรค 2 วงจร กล่าวคือ ตัวแม่ปั้มเบรค จำทำการปั้มน้ำมันเบรคออกไป 2 ท่อ เพื่อไปเบรคล้อ 2 คู่ เพราะเมื่อเกิดเหตุรั่วใหลของน้ำมันเบรค ตามท่อส่งน้ำมันเบรค หรือบริเวณจุดรั่วที่ใดที่หนึ่ง ระบบเบรคของล้อคู่นั้นก็ไม่สามารถทำงานได้ แต่ล้อที่เหลืออีกคู่หนึ่งก็ยังคงใช้งานได้ (ซึ่งอาจจะทำได้ไม่ดีนัก สำหรับ การหยุดรถทั้งคัน) แต่อย่างน้อยที่สุด ผู้ขับขี่ก็ยังรู้ว่า มีบางอย่างผิดปกติ เกิดขึ้นกับระบบเบรค และยังพอ มีเวลาที่จะควบคุมรถไปซ่อมแซมได้

หมายเหตุ :
รถขับเคลื่อนล้อหน้า ใช้ระบบเบรค 2 วงจรแบบไขว้ เนื่องจากน้ำหนักเครื่องยนต์ เกียร์ เฟืองท้าย เพลาขับ ทำให้ช่วงหน้ารถมีน้ำหนักมาก เมื่อเหยียบเบรค จุดศูนย์ถ่วง จะไปรวมอยู่ที่ล้อหน้ามาก ในกรณีที่ระบบเบรคของวงจรใดวงจรหนึ่งชำรุด ประสิทธิภาพของการเบรค จะลดลงครึ่งหนึ่งจากปกติ แต่การหยุดรถ จะยังคงมีเสียรภาพอยู่

ระบบเบรค ABS (Antilock brake system)

ระบบเบรค ABS มีจุดประสงค์ ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเบรคล็อคตาย กล่าวคือ เมื่อผู้ขับขี่ ขับรถไปตามเส้นทาง เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆ ที่ต้องทำให้เกิดการเหยียบเบรคอย่างกระทันหัน แรงเบรคที่กระทำออกมา ก็จะส่งผลให้ น้ำมันเบรค มีแรงดันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบเบรคที่ประจำอยู่แต่ละล้อ ก็จะทำให้ล้อหยุดอย่างกระทันหันเช่นกัน เมื่อรถที่วิ่งด้วยความเร็ว แล้วเกิดล้อล็อคตายเช่นนี้ จะทำให้เกิดการลื่นไถล เช่น เมื่อล้อคู่หลังล็อคตาย ก็จะเกิดอาการปัด ไถลออกไปด้านข้าง ทำให้เสียการทรงตัว และควบคุมรถด้วยความลำบากเพิ่มขึ้น แต่ถ้าการล็อคตายเกิดกับล้อคู่หน้า ซึ่งเป็นล้อที่ควบคุมการขับขี่ด้วยแล้ว โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ จะต้องมีมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และถ้าเหตุการณ์ตอนนั้น อยู่ในสภาวะถนนลื่น หรือฝนตกหละก็ ยิ่งอันตรายมากขึ้นไปอีก

ระบบเบรค ABS ประกอบด้วยฟันเฟืองวงแหวน ติดตั้งเกาะอยู่กับดิสก์ หรือเพลาหมุน และจะมีอุปกรณ์เซนเซอร์ (Sensor) ติดตั้งอยู่ใกล้กับฟันเฟืองดังกล่าว เมื่อล้อหมุนไป ฟันเฟืองจะหมุนตาม เซนเซอร์จะตรวจจับอัตราการหมุนของฟันเฟือง แล้วรายงานอัตราความเร็วดังกล่าว ไปให้กับชุดควบคุมอิเลคทรอนิค (ECU) ของระบบ ABS ทราบ จากนั้น ชุดอุปกรณ์ควบคุมดังกล่าว ก็จะสั่งการทำงานไปเปิด-ปิดวาล์วความดันน้ำมันเบรค ที่ติดตั้งร่วมเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของวงจรท่อน้ำมันเบรค

โปรแกรมการทำงาน ที่อยู่ในชุดควบคุมอิเลคทรอนิค จะคอยตรวจสอบสัญญาณจากเซนเซอร์อยู่เสมอ เมื่อกรณีที่ผู้ขับขี่เหยียบเบรคครั้งใด วาล์วความดันน้ำมันเบรค จะเปิด-ปิด เพื่อลด-เพิ่ม แรงดันไปกระทำกับตัวเบรคที่ติดตั้งประจำแต่ละล้อ การเปิด-ปิดวาล์วที่เกิดขึ้น จะมีความถี่ประมาณ 15 ครั้งต่อวินาที ตัวเบรคที่ติดตั้งอยู่ประจำล้อ ก็จะทำการ จับ-ปล่อย-จับ-ปล่อย ด้วยความถี่เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้ใช้รถจึงมีความรู้สึกเวลาเหยียบเบรคว่า มีแรงสะท้าน สะท้อนออกมาถี่ๆ ที่ปลายเท้าขณะเหยียบเบรค นั่นคือการทำงานของวาล์ว ควบคุมแรงดันน้ำมันเบรคนั่นเอง

ดิสเบรก (Disc brake)

เป็นระบบเบรกแบบใหม่ที่นิยมกันมาก เบรกจะทำงานโดยดันผ้าเบรกให้สัมผัสกับจานเบรกเพื่อให้หยุด บางรุ่นใช้ดิสเบรกทั้ง 4 ล้อ บางรุ่นใช้เฉพาะล้อหน้า

ข้อดี ลดอาการเฟด(เบรกหาย) เนื่องจากอากาศสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบรกนอกจากนี้เมื่อเบรกเปียกน้ำผ้าเบรกจะสลัดน้ำออกจากระบบได้ดี ในขณะที่ดรัมเบรกน้ำจะขังอยู่ภายในและใช้เวลาในการถ่ายเทค่อนข้างช้า

ข้อเสีย ไม่มีระบบ Servo action หรือ multiplying action เหมือนกับดรัมเบรกผู้ขับต้องออกแรงมากกว่าจึงต้องใช้ระบบเพิ่มกำลัง เพื่อเป็นการผ่อนแรงขณะเหยียบเบรกทำให้ระบบดิสเบรกมีราคาค่อนข้างแพงกว่าดรัมเบรก

ดิสเบรก มีทั้ง 3 ชนิดดังนี้

2.1 ดิสเบรกแบบก้ามปูยึดติดอยู่กับที่ (Fixed position disc brake)
ดิสเบรกจะมีผ้าเบรกอยู่ 2 แผ่นติดอยู่ภายในก้ามปู (คาลิปเปอร์) วางประกบกับจานเบรกเพื่อที่จะบีบจานเบรกตัวก้ามปูนั้นเป็นเพียงที่ยึดของลูกปั้มเท ่านั้น จะไม่เคลื่อนที่ขณะเบรกทำงาน ดิสเบรกแบบนี้มีช่องทางเดินน้ำมันเบรกอยู่ภายในตัวก้ามปู หรืออาจมีท่อเชื่อมต่อระหว่างลูกปั้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละชนิด


2.2 ดิสเบรกแบบก้ามปูแกว่งได้ (Swinging caliper disc brake)
พบมากในรถยนต์ทั่วไป หลักการทำงานแตกต่างจากก้ามปูยึดอยู่กับที่ เบรกแบบนี้จะมีลูกปั้มหนึ่งตัวคอยดันผ้าเบรกแผ่นหนึ่ง ส่วนผ้าเบรกอีกแผ่นจะติดอยู่กับตัวก้ามปูเองซึ่งตัวก้ามปูนี้สามารถเคลื่อนไปมาได้ เมื่อเหยียบเบรกน้ำมันเบรกจะดันลูกปั้มออกไป
ผ้าเบรกแผ่นที่ติดอยู่กับลูกปั้มจะเข้าไปประกบกับจานเบรก ในขณะเดียวกันน้ำมันเบรกก็จะดันตัวก้ามปูทั้งตัวให้เคลื่อนที่สวนทางกับลูกปั้ม ผ้าเบรกตัวที่ติดกับก้ามปูก็จะเข้าประกบกับจานเบรกอีกด้านหนึ่งพร้อมกับผ้าเบรกแผ่นแรก

2.3 ดิสเบรกแบบเคลื่อนที่ไปมาได้ (Sliding Caliper disc brake)
หลักการแบบเดียวกับดิสเบรกแบบแผ่น แต่ใช้ลูกปั้มสองตัว ตัวแรกเป็นตัวดันผ้าเบรกโดยตรง ส่วนอีกตัวจะดันก้ามปู ซึ่งมีผ้าเบรกติดอยู่ให้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับลูกปั้มตัวแรก แผ่นผ้าเบรกทั้งสองจะเข้าประกบกับจานเบรกทั้งสองด้านพร้อมๆ กัน

Single-circuit hydraulic
Dual-circuit hydraulic
Brake-by-wire


วิธีการเปลี่ยนผ้าเบรคคู่หน้าแบบง่ายๆ อันดับแรกต้องดูข้อควรระวังก่อนครับ เวลาเปลี่ยนต้องเปลี่ยนพร้อมกันเป็นคู่ครับ ห้ามเปลี่ยนทีละข้าง และก็ฝุ่นผ้าเบรคเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วยนะครับให้ระวัง แต่ว่าห้ามเป่าทำความสะอาดด้วยลมนะครับ ให้ใช้สเปรย์ทำความสะอาดที่ไม่ทิ้งคราบมันหลงเหลือไว้ ก็พวกน้ำยาล้างหัวเทปอะไรพวกนั้นนะครับ เอาตามรูปก็ได้ เวลาเปลี่ยนให้เปลี่ยนที่ละข้าง แล้วก็ไปศึกษาส่วนประกอบต่างๆให้คุ้นเคยก่อน

จากนั้นก็เตรียมอุปกรณ์กับเครื่องมือกัน

* ผ้าเบรค ไปหาซื้อตามร้านขายอะไหล่ เอายีห้อไหนก็ได้ OEM หรือของแท้จากศุนย์ แต่ที่แน่ๆต้องให้ตรงรุ่น ข้างละ 2 อัน ทั้งหมด 4 อัน อันด้านในจะมีตัวเตือนเป็นก้านเหล็กบอกตอนผ้านเบครใกล้จะหมด อย่าใส่ผิดครับ ส่วนใหญ่จะ foolproof มาให้อยู่แล้ว
วิธีการเปลี่ยนผ้าเบรคคู่หน้าแบบง่ายๆ อันดับแรกต้องดูข้อควรระวังก่อนครับ เวลาเปลี่ยนต้องเปลี่ยนพร้อมกันเป็นคู่ครับ ห้ามเปลี่ยนทีละข้าง และก็ฝุ่นผ้าเบรคเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วยนะครับให้ระวัง แต่ว่าห้ามเป่าทำความสะอาดด้วยลมนะครับ ให้ใช้สเปรย์ทำความสะอาดที่ไม่ทิ้งคราบมันหลงเหลือไว้ ก็พวกน้ำยาล้างหัวเทปอะไรพวกนั้นนะครับ เวลาเปลี่ยนให้เปลี่ยนที่ละข้าง แล้วก็ไปศึกษาส่วนประกอบต่างๆให้คุ้นเคยก่อน

จากนั้นก็เตรียมอุปกรณ์กับเครื่องมือกัน

* ผ้าเบรค ไปหาซื้อตามร้านขายอะไหล่ เอายีห้อไหนก็ได้ OEM หรือของแท้จากศุนย์ แต่ที่แน่ๆต้องให้ตรงรุ่น ข้างละ 2 อัน ทั้งหมด 4 อัน อันด้านในจะมีตัวเตือนเป็นก้านเหล็กบอกตอนผ้านเบครใกล้จะหมด อย่าใส่ผิดครับ ส่วนใหญ่จะ foolproof มาให้อยู่แล้ว
* อุปกรณ์ ใช้สำหรับเตรียมรถอยู่ในท่า standard พร้อมซ่อม อาทิเช่น แม่แรงกับ ตัวไข ตัวหมุน ที่ให้มาพร้อมกันนั้นแหละครับ เพิ่มแป๊บเหล็กไปอีกหน่อย เอาไว้ต่อด้ามให้ยาวขึ้น เวลาไขจะได้ออกแรงน้อยๆหน่อย
* จาก นั้นก็ประแจเบอร์ 14 กับ 12 เบอร์ 14 นี่เอาไว้ไขน็อต 2 ตัวหลักที่ยึด Caliper ออก ส่วนเบอร์ 12 นี่เอาไว้ไขน็อตที่ยึดท่ออ่อนน้ำเบรคออกให้มันให้ตัวได้ ไม่ตึงเกินไป เดี๋ยวบิดมาบิดไปจะขาดกันพอดี
* มาถึงตอนนี้ครับที่สำคัญสุด C-camp ครับ เอาตัวใหญ่ๆหน่อย งานนี้ไม่มีอันนี้ไม่ได้ครับ เดี๋ยวมีเหนื่อยตอนใส่คืนนะครับพี่น้อง
*
คลายน็อตล้อ เอาแม่แรงขึ้น ถอดล้อ เอาให้อยู่ประมาณในรูปอะครับ
*
ทำการปลดน็อตยึดท่อน้ำมันเบรคออกก่อน
*
จากนั้นก็ทำการไขน็อตตัวยาว 2 ตัวที่ยึดกับ caliper brake ออก บางรุ่นสังเกตุให้ดี น็อตตัวบนกับตัวล่างอาจสั้นยาวไม่เท่ากัน เวลาใส่คืนอย่าลืมตรวจดูให้ดีๆด้วย
*
ค่อยๆแง้ม caliper brake ขึ้น แล้วจึงถอดเอาผ้าเบรคเก่าออกมา สังเกตุแผ่น shim ด้วยนะครับ มีกี่อัน อันไหน ใสยังไง กูตามคู่มือก็ได้ จากนั้นฉีดสเปรย์ทำความสะอาดพวกฝุ่นที่เลอะอยู่้ สังเกตุจะมี boot ยางกันฝุ่นอยู่ที่ปลายน็อตด้วย ให้ดูสภาพว่ายังดีอยู่หรือเปล่า คือประมาณว่า ไม่บวม ไม่ขาด ถ้าเสียแล้วก็ซื้อเปลี่ยนใหม่ อันละ 25 บาทเห็นจะได้
*
ก่อนจะทำการใส่ผ้าเบรคใหม่ลงไป ก็ให้ไปทำการเปิดฝากระบอกน้ำมันเบรคด้านหน้าก่อน เพราะเดี๋ยวมันอาจจะล้นออกมาได้ เนื่องจากเราจะต้องดันกระบอกสูบ Disc Brake กลับเข้าไป เพราะผ้าเบรคใหม่ที่ใส่เข้าไปมันหนากว่าของเก่านะดิ ค่อยๆเอา C-camp จับแล้วหมุนให้มันดันกลับเข้าไปอย่างช้าๆ
*
จากนั้นทำการใ้ส่ผ้าเบรคอันใหม่เข้าไป แทน อย่าลืมด้านในให้ใส่อันทีมีคลิปเตือน เมื่อใส่เสร็จแล้วให้ตรวจดูว่าผ้าเบรคใหม่ที่ใส่เข้าไป slide ไปมาได้อย่างอิสระ ไม่ฝืดหรือแน่นจนเกินไป (บางครั้งสีที่พ่นผ้าเบรคมาจากโรงงานอาจ control ความหนาในการพ่นไม่ดี มันเลยเยิ้มหนามากเกินไป เดี๋ยวผ้าเบรคมันค้างแล้วไหม้ซะงั้น)
*
จากนั้นจึงประกอบทุกอย่างกลับเข้าที่เดิม แล้วตรวจสอบความเรียบร้อยดูอีกครั้ง
*
สุดท้ายให้ทำการไล่น้ำมันเบรคด้วย 4 ล้อเลยจะดีมาก

ส่วน discbrake ด้านหลังจะเปลี่ยนยากกว่าด้านหน้านิดหน่อย

credit :: http://www.erakii.org/
credit :: http://pirun.ku.ac.th
credit :: http://www.carbibles.com

Labels:



comment closed